รมช. คลัง "จุลพันธ์” เผยนายกฯ รับทราบปัญหาสินมั่นคงประกันภัย ห่วงมูลหนี้ประกันโควิคสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท ยอมรับสุดท้ายรัฐต้องเข้ามาแบก เตรียมนัด เลขาฯ คปภ. หารือภาระค้างจ่ายก้อนใหญ่ พร้อมปิดช่องโหว่กฎหมาย พร้อมรับสุดท้ายรัฐต้องแบกภาระจ่ายแทน หลังที่ผ่านมาเติมทุนให้คปภ. หลายพัน ลบ.
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รมช. คลัง) เปิดเผยถึงการติดตามปัญหาของ บมจ.สินมั่นคงประกันภัย ที่ถูกปิดกิจการขี่วคราว ว่า หลังจากที่ได้ให้โอกาสบริษัทในการยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ แต่แผนฟื้นฟูฯ ไม่ผ่านมติของเจ้าหนี้ และศาลล้มละลายกลางได้ยกเลิคำสั่งฟื้นฟูกิจการของสินมั่นคงฯ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย โดยสั่งให้หยุดระงับกิจการเป็นการชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ทางกระ รวงการคลังได้คิดตามแนวทางแก้ปัญหาของ คปภ. โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับทราบปัญหาที่เกืดขึ้น และคาดจะมีการนัดหารือกับนายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. ต่อไป
สำหรังสถานะของสินมั่นคงประกันภัยปัจจุบันมีภาระหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินราว 3 หมื่นล้านบาท และมีอัตราเงินกองทุนอยูาระดับต่ำกว่าเกณฑ์ คปภ. กำหนด มีภาระค้างจ่ายจากการเคลมประกันโควิด เจอ จ่าย จบ มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท จำนวนผู้เอาประกัน 7 แสนราย ขณะที่มีทรัพย์สินหลักพันล้านบาท
"ในส่วนของสินมั่นคงฯ พอร์ตประกันโควิดฯ ไม่มีผู้รับช่วงต่อเหมือนพอร์ตประกันรถ ขณะที่ฝั่งคปภ. ซึ่งมีภาระค้างจ่ายเคลมประกันโควิด มูลหนี้คงค้าง 6 หมื่นล้านบาท แม้มีกองทุนประกันวินาศภัย มาช่วยรับภาระจ่ายเคลมแทนบริษัทประกันที่มีปัญหา แต่เงินกองทุน ที่มีเงินสมทบจากสมาชิกเข้ามาเพียงปีละ 600-700 ล้านบาท เท่านั้น ทำให้มีศักยภาพดำเนินการเรื่องนี้มีจำกัด รวมทั้งการจ่ายเคลมโคงิด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดตามข้อกฎหมายของผู้เอาประกันทุกรายก่อนจ่ายเคลม ซึ่งตรวจสอบยากที่จะย้อนกลับไปว่าเป็นโควิดจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา รัฐได้ใส่เงินทุนเติมให้กองทุนฯปีละ 3-4 พันล้านบาท แล้ว ซึ่งก็ไม่เพียงพอรองรับการจ่ายเคลม ซึ่งในส่วนยอดค้างขำระ ที่เหลือ อาจ จะต้องมีการหารือร่วมกับคปภ. เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องใช้งบประมาณรัฐ เข้ามาช่วยเหลือ โดยงบฯปี 67 จะใส่ให้คปภ. 3 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของอนาคต หลังจากนี้ คลังจะต้องมาพูดคุยกับ คปภ. ส่วนจะหารือถึงการแก้ไขกฎหมายเรื่องอัตราเงินนำส่งเข้าคปภ. จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 0.50% เป็น 2.5% นั้น ขอไม่ตอบ"
รมช. คลัง กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่อีก 1.87 ล้านกรมธรรม์ ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และมีการดำเนินการโอนพอร์ตกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับอยู่ไปยังบริษัทประกันอื่นเพื่อลดผลกระทบ หากบริษัทใดไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ทาง คปภ.จะยกระดับการดำเนินการแก้ไขต่อไป พร้อมทั้งจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมประกันทั้งระบบ