คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เผยภาพรวมคริปโทเคอร์เรนซีปี 2566 เทรนด์การเติบโตของ Bitcoin พัฒนาการของ Ethereum, DeFi ในยุคที่คนเริ่มไม่เชื่อใจในตัวกลาง แบรนด์ชั้นนำเข้าสู่ตลาดNFT และกฎเกณฑ์ข้อบังคับจากภาครัฐที่ต้องสะสางให้จบ
นายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด (Cryptomind Advisory) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปี 2565 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีอย่างแท้จริง ซึ่งมองว่า เป็นเรื่องด้านราคาและความเชื่อมั่นเท่านั้น เพราะโปรเจกต์ที่ไม่ได้รับผลกระทบทางตรงนั้นยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเสมอ ดังนั้นปี 2565 อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “หลุม (Bottom)” และปี 2566 นี้ จะเป็นปีแห่ง “การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง (Recovery)” ด้วยเห็นผลหลายประการ ดังนี้
1. การเติบโตด้านการใช้งานของ Bitcoin แม้ว่าในปี 2565 ราคา Bitcoin จะถูกกดดันอย่างหนัก แต่นับต้ังแต่ต้นปี 2566 มาจนถึงปัจจุบัน ราคา Bitcoin ได้ปรับตัวสูงขึ้น 50% สาเหตุมาจากความคลายกังวลเรื่องท่าทีของ FED ต่อการรับมือเงินเฟ้อว่าจะเป็นในลักษณะผ่อนคลาย (Dovish) มากขึ้น แต่ในด้านพื้นฐานนั้นได้ต่างออกไป ทั้งเรื่อง Hash Rate ของ Bitcoin ที่กลับทำ New High ใหม่เรื่อย ๆ สวนทางกับราคา ทำให้หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะการที่ราคาบิตคอยน์ตกลงมามากขนาดนี้ก็น่าจะมีเหมืองขุดปิดตัวหรือปิดเครื่องขุดกันไปจำนวนมากแล้ว ซึ่ง Hash Rate ก็น่าจะลดลงเช่นเดียวกับราคา นอกจากนี้ การใช้เครื่องขุด ASIC รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการแสดงหาไปใช้พลังงานทางเลือกราคาถูกก็ช่วยผลักดันให้ Bitcoin รักษ์โลกพร้อมกับมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของการใช้งานจริงก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดย El Salvador เป็นประเทศแรกที่ประกาศให้ Bitcoin สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแล้วในปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาอย่างที่หลายคนคาดการณ์ อาจจะเป็นชนวนครั้งใหญ่ที่ทำให้หลายประเทศที่ค่าเงินของประเทศตัวเองเริ่มล่มสลายเริ่มมอง Bitcoin เป็นทางเลือกได้
นอกจากนี้ Lightning Network ของ Bitcoin ที่ทำให้สามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าได้รวดเร็วไม่ต่างกับ Promptpay ประเทศไทยแต่ไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ ก็เริ่มมี Bitcoin ล็อคอยู่ในนั้นสูงขึ้น 57% จากปีก่อน และมีการทำธุรกรรมมากกว่า 800,000 ครั้งต่อเดือน
ท้ายที่สุดแล้วแม้จะยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นได้มีการพยายามสร้าง NFT ที่อยู่บน Bitcoin โดยใช้ชื่อโครงการว่า Ordinals ซึ่งสร้างโดย Casey Rodarmor อดีตผู้สนับสนุนของ Bitcoin Core ซึ่งได้มีการ Mint ไปกว่า 200,000 ครั้ง ซึ่งเป็นการเพิ่ม Use case ให้กับเครือข่าย Bitcoin ทำให้ค่าธรรมเนียมที่นักขุดได้ในช่วงเวลานั้นพุ่งสูงถึง 1.31 ล้านดอลลาร์
ปี 2566 นี้จะมีอีกหลายโปรเจกต์ที่ทยอยเปิดตัวให้เราได้ติดตาม ซึ่งอาจจะไม่ได้สะท้อนเข้าไปในราคาให้พุ่งสูงขึ้น แต่จะเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อพร้อมจะทัดเทียมกับระบบ CBDC ที่หลายประเทศจะเริ่มใช้งานในปีนี้เช่น จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย
ดังนั้น แนวโน้มราคาภายในปี 2566 จึงอาจอยู่ในกรอบกว้าง 15,500 - 37,000 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบาย FED ว่าจะมีความ Aggressive มากน้อยแค่ไหนในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อในปีนี้ พร้อมกับผลกระทบที่อาจจะมีต่อเนื่องจากการการล่มสลายของ FTX และการคุมเข้มจากภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ของคริปโทเคอร์เรนซี เราจึงไม่มองว่าปีนี้ Bitcoin จะกลับไปทำ All time high แต่ก็ไม่เห็นด้วยว่าข่าวร้ายเหล่านี้จะกดดันให้เกิด New low ในระยะสั้นต้องทะลุแนว 25,200 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญไปให้ได้
2.พัฒนาการของ Ethereum หลังจาก The Merge เป็นการอัปเกรดครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2565 ส่งผลให้ Ethereum มีพื้นฐานการทำงานที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างมาก ทั้งการปรับจาก Proof of Work เป็น Proof of Stake ที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 99.95%, การลดการเฟ้อของ ETH ลงมากกว่า 95% ทำให้เข้าสู่สภาวะฝืดและการเปิดช่องทางการพัฒนา Ethereum จาก Monolithic เป็น Modular ช่วยให้เกิดการต่อยอดได้หลากหลายและพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น
เรื่องที่ควรจับตามองคือ “Shanghai Upgrade” ที่คาดว่า จะเกิดในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยอัปเกรดนี้จะอนุมัติการถอน ETH จาก Beacon Chain ได้ ซึ่งมีหลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดแรงเทขายอย่างหนักเพราะ ETH จำนวนนี้ถูกล็อคมานานกว่า 2 ปี จากการวิเคราะห์ของเราคาดว่า อาจจะมีการ Panic ในระยะสั้นเพราะความกังวล แต่มันจะไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดเพราะจะมีการฝากที่มากขึ้นเช่นกันเพราะนักลงทุนจะไม่ถูกล็อค ETH โดยไม่มีวันปลดตายตัวอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีระบบการทยอยปลดทำให้ไม่มีเงินก้อนใหญ่โถมเข้าใส่ตลาดทันทีและด้วยปัจจัยด้านอื่น ๆ ทำให้เรามองว่า การอัปเกรดรอบนี้จะราบรื่นและส่งผลเชิงบวกต่อ Ethereum
3.DeFi ในยุคที่คนเริ่มไม่เชื่อใจในตัวกลาง หลังจากวิกฤต FTX ล้มละลาย ถือเป็นการแสดงข้อเสียที่ชัดเจนในการฝากเงินไว้กับ “ตัวกลาง” ซึ่งหลายครั้งแล้วที่ “ความเชื่อใจ” นี้ได้ถูกหักหลังมาโดยตลอด จึงเกิดเป็นกระแส “Decentralized Finance หรือระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง” เกิดขึ้นมา โดยเงินของเราจะอยู่ใน Wallet ที่มีแต่เราเท่านั้นที่ควบคุมได้ ในช่วงที่ FTX ล้มละลาย การใช้งาน DeFi สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์และยังมีแนวโน้มการใช้งานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
เทรนด์ที่น่าจับตามองคือการใช้ “สินทรัพย์ในโลกจริง (Real-world Asset)” มาประสานรวมเข้ากับ DeFi เช่นการใช้เงินในคลังของ MakerDAO ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ การนำอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ DAI และการทำ Tokenization หุ้นกู้เป็นเหรียญเพื่อให้นักลงทุนใน DeFi ของ Ondo Finance ที่ได้รับการสนับสนุนจาก BlackRock และ Coinbase เราคาดว่าปีนี้ จะได้เห็นการประสานกันมากขึ้นระหว่าง Traditional Finance และ Decentralized Finance
4.แบรนด์ชั้นนำเข้าสู่ตลาด NFT กระแสศิลปินที่สามารถขายผลงาน NFT แล้วได้กำไรมหาศาลจนดึงดูดศิลปินให้มาสร้างสรรค์ผลงานบน Blockchain มากขึ้นถือเป็นกระแสที่มาแรงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนช่วงกลางปีที่แล้ว เริ่มเห็นขาลงของตลาด NFT มีเพียงไม่กี่โปรเจกต์เท่านั้นที่ยังอยู่รอด และหลายโปรเจกต์ที่ถอนตัวออกไป
แต่สำหรับแบรนด์สินค้านั้นมอง NFT ในมุมที่แตกต่างออกไปและเห็นว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มคุณค่าให้แบรนด์และลูกค้า โดยปี 2566 ก็มี Posche ที่เข้าสู่วงการ NFT และ Ferrrari ก็ประกาศว่า มีแผนเช่นกัน ดังนั้น ปีนี้เราจะได้เห็นตลาด NFT มีความคึกคักมากขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมกันกับ Use case ใหม่ ๆ ที่ทำให้แต่ละบริษัทจะนำมาประยุกต์ใช้ NFT เข้ากับแบรนด์ตัวเอง
และเรื่องสุดท้ายที่ควรให้ความสนใจมากที่สุด “Regulation หรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับจากภาครัฐ” เราเห็นได้จากการเข้มงวดเรื่อง Stablecoin มากขึ้นหลังจาก UST ของ Terra มูลค่าแทบจะเหลือ 0 ดอลลาร์สหรัฐ และการมาเห็น FTX รวมถึง CeFi ต่าง ๆ ประกาสล้มละลายจำนวนมาก ทำให้ ก.ล.ต. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ต้องเข้ามาทำหน้าที่ปกป้องผู้บริโภคไม่ให้เจอเหตุการณ์เหล่านี้อีก ดังนั้นเราจะเห็นการฟ้องร้องหรือการออกข้อบังคับต่าง ๆ ที่บีบให้บริษัทหรือโปรเจกต์ต่าง ๆ แสดงความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ข้อดีก็จะทำให้เราปลอดภัยและสบายในการลงทุน แต่บางครั้งกฎระเบียบที่ยุ่งยากมากเกินไปอาจจะขัดขวางพัฒนาการในวงการคริปโทเคอร์เรนซีได้เช่นกัน
“แม้ว่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีจะเป็นตลาดที่ใหม่และยังมีความไม่แน่นอนสูง ยังต้องการเวลาเพื่อใช้ในการพิสูจน์ว่าโปรเจกต์ที่ทำมาแต่ละอย่างนั้นมีคุณค่า และสามารถใช้งานได้จริงในระดับบ Mass Adoption หรือจะเป็นเพียงแค่การดึงดูดเม็ดเงินเพื่อทำกำไรเท่านั้น ทำให้การลงทุนในนี้มีทั้งความเสี่ยงในการสูญเสียเม็ดเงินลงทุนได้ แต่หากเลือกโปรเจกต์ที่ถูกต้องก็เหมือนกับการได้ลงทุนในยุคบุกเบิกของตลาด ผลตอบแทนที่ได้นั้นจะคุ้มค่าอย่างแน่นอน
การคัดเลือกโปรเจกต์และจังหวะในการลงทุนที่ถูกต้องนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ต้องดูว่าผู้บริหารของโปรเจกต์มีประวัติและวิสัยทัศน์เป็นอย่างไร, มี Key Success Factor ที่มีโอกาสที่จะครองส่วนแบ่งตลาดในอนาคตหรือรักษาฐานผู้ใช้งานให้คงที่ได้อย่างไร, นักลงทุนรอบ Seed มีใครบ้างและระดมทุนได้เงินเท่าไหร่ เพื่อนำไปต่อยอดโปรเจกต์ด้านไหน, Narrative ของตลาดในตอนนั้นเอื้อต่อโปรเจกต์หรือไม่ และสุดท้ายคือโมเดลการออกแบบเหรียญ (Tokenomics) ว่ามีการใช้งานอย่างไร มีอัตราการเฟ้อ มีการแจกในกลุ่ม Early Investor อย่างไร แล้วนำปัจจัยทั้งหมดนี้มาวิเคราะห์และให้คะแนนก่อนการลงทุน พร้อมทั้งกระจายความเสี่ยงหากในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน
เราเชื่อมั่นว่า ในปี 2023 แม้จะดูไม่สดใสมากนัก และในโลก Crypto ก็มีโครงการจำนวนมากที่ล้มตายลงไป แต่ด้วย Use case ต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีว่ามันยังเป็นอนาคตโดยเฉพาะโปรเจกต์ที่ติดตลาดแล้ว เพราะฉะนั้นโดยพื้นฐานแล้วตลาด Cryptocurrency ยังน่าสนใจในระยะยาว” นายพีรพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ บทความข้างต้นเป็นเพียงการวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเท่านั้น ทาง Cryptomind ได้จัดทำหนังสือ “Cryptomind Research Investment Outlook 2023” ภายในเล่มมีเนื้อหาเจาะลึกตลาดคริปโทฯ ปี 2023 ที่สรุปไว้อย่างละเอียด ครบครัน แต่อ่านเข้าใจง่าย ผู้ที่สนใจสามารถรับ Research ฉบับเต็มฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ โดย Add line : @cryptomindadvisory หรือคลิก https://lin.ee/7JnCqmA