บทความ

โอกาส-ความท้าทาย ธุรกิจสื่อสารไทยในการแข่งขันยุค DIGITAL
25 พ.ย 2564

"เราทั้งคู่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจและลูกค้าต่อไปได้ จึงเป็นแนวคิดที่เรามาร่วมพันธมิตรกัน" คือคำพูดของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพี ในวันแถลงข่าวการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และดีแทค  

 

การรวบรวมกิจการในครั้งนี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันว่า จะทำให้ บิ๊กเพลเยอร์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม จะเหลือเพียงแค่ 2 เจ้า คือ เอไอเอส กับบริษัทใหม่ที่เกิดควบรวมระหว่าง ทรู และดีแทค และทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ เพราะถูกจำกัดทางเลือกในการใช้บริการแค่ 2 เจ้าหลัก

 

โดยมองข้ามผู้ให้บริการ ชื่อ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ที่เกิดจากการควบรวมระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT)กับบริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน (TOT)

 

อะไร คือข้อจำกัด จนทำให้เป็นที่มาของการควบรวมกิจการในครั้งนี้ 

 

จริงๆ แล้ว การแข่งขันในยุคเทคโนโลยี ไม่ได้มีแค่ 2 หรือ 3 รายเดิม แต่ยังมีผู้เล่นระดับโลก มาร่วมเล่นในอุตสาหกรรมสื่อสารไทยมานานแล้ว โดยภาครัฐไม่เคยควบคุม ไม่เคยจ่ายค่าไลเซนต์ ไม่เสียภาษี และที่สำคัญเป็นผู้ได้รายได้ส่วนใหญ่ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

 

หากรายได้ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม คือ รายได้จาก SMS วันนี้รายได้ส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับ Line(ไลน์) ผู้ให้บริการที่มาชิงรายได้ไปจาก SMS แย่งรายได้ ทั้งเอไอเอส ทรู ดีแทค และ NT 

 

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทจากต่างประเทศอย่างเช่น we chat whats app,facebook, messenger, telegram, Line ,android message และ facebook message ที่มาเอาส่วนแบ่งรายได้การส่งข้อความไปเกือบทั้งหมด

 

ดังนั้นที่พูดว่า ค่ายมือถือแข่งกัน 3 ราย คงต้องหาคำตอบหน่อยว่า จะให้ mobile operator เอาชนะบริษัทต่างชาติที่มาแย่งรายได้อย่างไร นักวิชาการควรมาช่วยหาคำตอบว่า บริษัทไทยจะสู้กับบริษัทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี ไม่ต้องจ่ายไลเซนต์ได้อย่างไร

 

รายได้ที่สองที่สูญเสียให้ผู้เล่นต่างชาติ คือ รายได้จากการโทร (Voice revenue) เช่นเดียวกันว่า ไม่ใช่ค่ายมือถือแข่งกัน วันนี้การโทรไปต่างประเทศก็ใช้ไลน์ โทรในประเทศก็โทรผ่านเน็ต ผ่านแอพของบริษัทต่างประเทศ  โทรผ่านไลน์ ค่ายมือถือก็ไม่ได้เงิน ลงทุนเพิ่ม 5G ได้เงินค่าบริการเท่าเดิม แต่รายได้ไปตกกับแอพ (Over the top) ถึง 90% โดยกำไรทั้งหมดไหลไปต่างประเทศ

 

วันนี้ค่ายมือถือเป็นเพียงท่อโง่ๆ (Dump pipe) ให้บริษัทต่างชาติเหล่านี้หารายได้ โดยที่แทบไม่เคยต้องจ่ายภาษี แอพโทรบนเน็ตจำนวนมาก เช่น Line call, google hangout, vibor, สไกพ์ Skype Wechat, whatsapp, และอีกมากมาย

 

รายได้จาก VDO Streaming ดาต้า คอนเทนต์  (Content) ที่ใช้ทรัพย์กรณ์อินเตอร์เนตมหาศาล การเข้ามาของ Netflix, Viu, Disney+ และอีกหลายราย ทำให้ค่ายมือถือต้องขยายท่อ รับการดูหนังออนไลน์ แต่การจ่ายรายเดือน ลูกค้าจ่ายไปให้เจ้าของคอนเทนต์ แทบไม่เหลือให้ค่ายมือถือ เป็นเพียงถนนให้ผู้เล่นต่างชาติมาหาเงิน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่บริษัทไทยจะลุกขึ้นปลดแอก ปรับตัวเองขึ้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีแข่งกับต่างประเทศ 

 

OTT ถูกเรียกในภาษาทั่วไปว่า “value added” ซึ่งหมายถึงบริการที่สร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ที่สนุกสนานกับการทำรายได้ โดยไม่มีนักวิชาการออกมากำกับ หารายได้โดยอิสระ โดยไม่ถูกควบคุม โกยรายได้โดยไม่ต้องจ่ายภาษี มีเนื้อหาที่ยากต่อการควบคุม แต่ไม่ค่อยมีองค์กรใดออกมาเรียกร้อง ยังคงขี่บนหลังผู้ประกอบการไทยได้อย่างอิสระ

 

ถึงเวลาหรือยังที่คนไทยจะส่งเสริมบริษัทไทย สร้างความแข็งแกร่งไปแข่งกับตลาดที่เปลี่ยนไป มีปลาหลายชนิดที่แข่งในบ่อ อย่านับแค่ปลาที่ชื่อว่า เอไอเอส ทรู ดีแทค แต่ยังมีปลาเร็วที่กินปลาทุกชนิด อย่างเช่น google, facebook, Line, Youtube, wechat, whatsapp, netflix, skype และอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในอุตสาหกรรม

 

ถึงเวลาที่คนไทยต้องส่งเสริมบริษัทไทย สู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ใช่จำกัดตัวเองแค่แข่งกันเองในการเป็นท่อส่งข้อมูล ซึ่งปัจจุบันตลาดได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว

 

By Mr.Communication

 

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com