บทความ

เรียนรู้วิธีเก็บเงินเพื่อการออมและการใช้จ่าย  ป้องกันกระเป๋าเงินรั่วด้วย  `4 กระปุกจัดแบ่งรายได้ `
28 พ.ค. 2565

ในปัจจุบันเราสามารถใช้จ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องพกเงินสด ไม่ว่าจะผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต Promtpay หรือการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋าได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ทำให้เราอาจไม่เหลือเงินเก็บที่เพียงพอไว้สำหรับอนาคต หรือกรณีฉุกเฉิน 
.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย TFPA มีวิธีการจัดการเงินก้อนให้ได้ประสิทธิภาพ และครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งสำหรับปัจจุบันและอนาคตมานำเสนอ นั่นก็คือ หลัก 4 กระปุกจัดแบ่งรายได้ ​โดยอ้างอิงจากบทความ "วิชาใช้เงิน (ฉบับมือใหม่หัดใช้)" เขียนโดย คุณฉัตรี ชุติสุนทรากุล นักวางแผนการเงิน CFP®
.

โดยบทความดังกล่าว ได้อธิบายถึงความสำคัญของการใช้เงินว่าควรใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ไม่ใช่เพียงการออมเงิน โดยจะชี้ให้เห็นแนวทางและขั้นตอนในการบริหารรายได้ของเราให้เป็นสัดส่วน เพื่อทำให้ทุกการเก็บและการใช้จ่ายของเรามีความหมาย
.

สิ่งแรกที่ต้องทำ คือแบ่งเงินก้อนที่ได้มาออกเป็น 4 ส่วนตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ 
.


???? กระปุกแห่งอนาคต​
​.
หรือเรียกว่าเป็น ‘กระปุกแห่งความฝัน’  เนื่องจากเงินที่แบ่งใส่กระปุกนี้ คือจำนวนเงินที่เราตั้งใจจะเก็บไปเพื่อสานต่อความฝันของเราในอนาคต ซึ่งก็แบ่งเป็น ​
​.
ความฝันใกล้ (เกิดขึ้นภายในช่วง 3-5 ปี) เช่น เราฝันว่าอยากจะมีเงินดาวน์รถใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า เป็นเงิน 240,000 บาท ระหว่างนี้ทุกเดือนเราก็ต้องแบ่งเงินมาใส่เตรียมไว้ในกระปุกนี้ประมาณ 6,667 บาท ต่อเดือน​
​.
ความฝันไกล (เกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีหรือนานกว่านั้น) เช่น เราฝันไว้ว่าอยากมีเงินใช้ระหว่างอายุ 60-80 ปี เดือนละ 25,000 บาท โดยไม่ต้องทำงานหาเงินแล้วหลังอายุ 60 ปี เราจึงต้องมีเงินเต็มกระปุกเป็นจำนวน 6,000,000 บาท ณ วันที่เราอายุ 60 ปี เพื่อใช้ไปอีก 20 ปี (ฝันจะเป็นจริงในอีก 5-10 ปี หรือไกลกว่านั้นก็ได้)​
​.

???? กระปุกขาประจำ​
​.
เป็นกระปุกที่เราออมไว้เพื่อนำออกมาใช้ มักเป็นค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนแน่นอนและเป็นเงินที่เราเตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่มาเป็นประจำเท่า ๆ กันในแต่ละงวด ซึ่งหากเราไม่มีการแบ่งเงินส่วนนี้ไว้ แน่นอนว่าบางกรณีอาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเนื่องจากการจ่ายช้ากว่ากำหนด อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ค่างวดรถ หรือค่าเทอมลูก เป็นต้น ​
​.


???? กระปุกขาจร​
.​
จำนวนเงินในกระปุกนี้ หนีไม่พ้นที่จะต้องแวะเวียนกลับมาหยิบจับออกไปใช้จ่าย มักไม่ได้เป็นตัวเลขที่หนัก แต่เป็นสิ่งที่เราใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง อาทิ ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเสื้อผ้า ค่าโทรศัพท์ หรือค่าอาหาร เป็นต้น​
​.


???? กระปุกฉุกเฉิน​
​.
ชื่อกระปุกนี้เป็นสิ่งที่คอยเตือนใจเราให้ต้องอยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ หากไม่มีเหตุจำเป็นหรือเรื่องที่ต้องรีบใช้กะทันหัน เงินในกระปุกนี้จะถูกฝังกลบเอาไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่สมควรเท่านั้น และด้วยความสำคัญของกระปุกนี้เอง ที่จะเป็นสิ่งที่คอยช่วยชีวิตในสภาวะคับขัน เช่น การเปลี่ยนงานที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการหางานใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่เรามีแต่รายจ่ายอย่างเดียว ​
​.
โดยเงินสำรองที่เหมาะสมควรเป็นจำนวน X = (เงินในกระปุกขาจร + กระปุกขาประจำ ต่อเดือน) x 6 เดือน  อย่างเช่น นายออมดี มีค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือนอยู่ที่ 5,000 บาท เงินสำหรับใช้ชีวิต 3,000 บาท นายออมดี ควรมีเงินในกระปุกนี้ อย่างน้อย (5,000+3,000) x 6 = 48,000 บาท  ​
​.
❗หากมีการนำเงินไปใช้ในเหตุฉุกเฉิน ก็ควรจะรีบนำเงินกลับมาเติมกระปุกนี้ให้เต็มโดยเร็วที่สุด​
​.

เพียงแค่แบ่งเงินก้อนที่ได้มาเป็น 4 ส่วน ก็ช่วยให้การใช้จ่ายและเก็บของเรานั้นมีความหมายและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อีกทั้งยังเป็นการเตือนสติตัวเองให้คิดเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะเรื่องที่ไม่คาดคิดมักเกิดขึ้นได้เสมอ หากเราไม่รีบเตรียมรับมือตั้งแต่ตอนนี้ อาจมีเหตุจำเป็นที่ทำให้เราต้องสร้างหนี้ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นได้​
.

อ่านบทความฉบับเต็มคลิ๊กได้ได้ที่ลิ้งค์นี้ 

 


Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com