มีลูกยาก..ไม่ใช่เรื่องยาก! “ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก” รพ.จุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ พร้อมให้คำปรึกษาคู่สมรสอยากมีทายาทสืบสกุล แบบครบวงจร
จากปัญหาภาวะการมีบุตรยากในปัจจุบัน ถือเป็นปัญหาใหญ่ของคู่สมรสหลายคู่ที่ต้องการมีบุตร โดยสาเหตุหลักๆส่วนใหญ่มักเกิดจากไม่ได้การวางแผนการมีบุตรก่อน และคิดที่อยากมีบุตรเมื่อพร้อมและมีความมั่นคงในชีวิตก่อน โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ในที่สุดก็พบว่ากลายเป็นผู้มีบุตรยาก แต่การมีบุตรยากนั้นสามารถรักษาได้ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ ศูนย์เฉพาะทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก (Chularat 11 IVF Center) ที่ครบวงจรแห่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ภูมิภาคตะวันออก คือหนึ่งในผู้ให้คำปรึกษาและพร้อมช่วยให้คู่สมรสได้มีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ
“3 ปัจจัยหลักที่ทำให้มีบุตรยาก”
นพ.มฆวัน ธนะนันท์กูล ผู้อำนวยการศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ เปิดเผยว่า การมีบุตรยากถือเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยคู่รักที่แต่งงานแล้ว 1 ปี มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและไม่ได้มีการคุมกำเนิด ถือว่าเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก ซึ่งปัจจุบันพบว่าคู่รักที่แต่งงานจำนวน 100 คู่ จะมีจำนวน 12-15 คู่ ไม่มีบุตร ขณะที่สาเหตุของการมีบุตรยากในปัจจุบันของคู่สมรสนั้น มีทั้งหมด 3 ปัจจัยหลัก คือ
1.ฝ่ายหญิง โดยเฉพาะอายุของฝ่ายหญิงที่มากกว่า 35 ปี มีโอกาสสูงที่ทำให้มีบุตรยาก หากแต่งงานเกิน 6 เดือนแล้วไม่ท้อง แสดงว่า เป็นบุคคลที่มีลูกยาก อาจเกิดขึ้นจากภาวะไข่ไม่ตก, ท่อนำไข่ตัน, มีเนื้องอกต่างๆ, โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ฯลฯ
2.ฝ่ายชาย จำนวนของอสุจิน้อย รวมถึงปัญหาอวัยวะเพศที่ไม่แข็งตัว เป็นต้น สำหรับอายุที่มากขึ้นของฝ่ายชายอาจมีผลทำให้ตัวอสุจิลดน้อยลงบ้าง แต่ไม่มีผลทำให้มีบุตรยากหากเทียบกับฝ่ายหญิง
3.ปัจจัยร่วมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
“แน่นอน ว่า ภาวะการมีบุตรยากโอกาสจะเกิดขึ้นจากฝ่ายหญิงนั้นมีมากกว่าฝ่ายชาย ด้วยหลายปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอายุของฝ่ายหญิง หากอายุมากขึ้นความสามารถในการตั้งครรภ์ของจะน้อยลง รวมถึงปัญหาทางด้านอารมณ์ ที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง จะมีผลทำให้ระบบการตกไข่มีปัญหา และการเป็นไทรอยด์ (thyroid) ต่างๆ ซึ่งหากเราสามารถตรวจพบสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากแล้ว โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ก็มีสูง” นพ.มฆวัน กล่าว
“ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ ความหวังของผู้มีบุตรยาก”
สำหรับแนวทางการรักษาของภาวะการมีบุตรยากในส่วนของ “ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์” ซึ่งเป็นศูนย์เฉพาะทางการรักษาภาวะมีบุตรยากครบวงจรแห่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ภูมิภาคตะวันออก นพ.มฆวัน กล่าวว่า ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ ก่อตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายที่ต้องช่วยให้คู่สมรสสามารถมีบุตรสมตามปรารถนา ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางรักษาการมีบุตรยาก รวมถึงทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญและทีมพยาบาลคอยดูแลตลอดการรักษา ตั้งแต่การให้คำปรึกษาตรวจหาสาเหตุมีบุตรยากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ไปจนถึงกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก(IUI), การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธีอิ๊กซี่ (IVF/ICSI), การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (NGS) และการฝากแช่แข็งไข่(Egg freezing) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อสุจิ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้มาตรฐานสากล มีเทคโนโลยีทันสมัยด้วยเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนระบบปิด Geri+(Plus) ที่ใช้เลี้ยงตัวอ่อนโดยไม่รบกวนเซลล์ตัวอ่อนสามารถดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้อย่างต่อเนื่อง ลดการรบกวนตัวอ่อนทำให้ตัวอ่อนมีความสมบูรณ์ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
ในส่วนของการบริการที่ทางโรงพยาบาลมีจะประกอบไปด้วย
1.ตรวจหาสาเหตุมีบุตรยาก ทั้งชายและหญิง Fertility check up โดยจะรวมการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ ตรวจอัลตร้าซาวน์ดูความผิดปกติในมดลูกและรังไข่ ตรวจเลือดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร
2.การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก เป็นวิธีรักษาที่คล้ายวิธีธรรมชาติ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมาปั่นและคัดเลือกเอาตัวที่แข็งแรง ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ตกไข่ของฝ่ายหญิง
3.การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธีอิ๊กซี่ เป็นการรักษาด้วยวิธีฉีดยากระตุ้นไข่ในฝ่ายหญิงแล้วเก็บไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้ออสุจิภายนอกร่างกายจากนั้นนำไปเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนระบบปิดจนถึงระยะบลาสโตซีสแล้วจึงย้ายตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป โอกาสสำเร็จตั้งครรภ์มากที่สุด
4.ฝากแช่แข็งไข่ เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร สามารถฝากไข่แช่แข็งไว้เพื่อเตรียมมีลูกในอนาคต
“พบโอกาสสำเร็จตั้งครรภ์สูง 68%”
นพ.มฆวัน กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ปี2561-2565) รักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากมากกว่า 5,000 ครอบครัว ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การรักษามีบุตรยาก รวมถึงการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ ทำให้อัตราการประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธีอิ๊กซี่สูงถึง 68% ขณะที่ข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่งประเทศไทย พบอัตราร้อยละความสำเร็จโดยเฉลี่ยของการทำเด็กหลอดแก้ว อยู่ที่ 35%