บทความ

ค่ายมือถือทั่วโลก ปรับตัว ควบรวม ทรู ดีแทค ปรับโครงสร้างการแข่งขัน ไม่ซ้ำรอยโนเกีย
29 พ.ย 2564

“ถ้าคุณไม่เปลี่ยน คุณก็จะถูกเอาออกจากการแข่งขัน” ข้อได้เปรียบที่โทรคมนาคมมีเมื่อวานนี้ จะถูกแทนที่ด้วย แนวโน้มหรือทิศทางของวันพรุ่งนี้ที่เป็นผู้เล่นตัวเบา ไม่มีต้นทุนค่าคลื่น ไม่ต้องลงทุนเสาสัญญาน  เราเห็นคนมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าค่ายมือถือจะผูกขาดหรือไม่ ในขณะที่บทความวิชาการทั่วโลกพูดว่า ค่ายมือถือจะอยู่รอดหรือไม่ เพราะคนที่จะผูกขาดคือบรรดาแอพต่างประเทศที่มาขี่บนสัญญานค่ายมือถือ จนมีคนกล่าวว่า ถ้าคุณไม่ทำอะไร คุณก็สามารถที่จะแพ้และเจ๊งได้ เพราะอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเร็วจนคุณตามไม่ทัน 

 

อุตสาหกรรมโทรคมนาคม มีความยากอยู่ 3 เรื่องคือ 1) ใบอนุญาตค่าคลื่น ที่สูงอันดับต้นๆของโลก เปรียบเสมือนลูกเหล็กผูกขาค่ายมือถือ 2) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เสาสัญญาน อุปกรณ์ ที่สูงลิบลิ่ว 3) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ไม่รู้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่เมื่อไหร่ ทำให้ค่ายมือถือทั่วโลก ต้องปรับโครงสร้าง เพื่อให้แข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัลได้

 

มาดูกันว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทสื่อสารทั่วโลก เดินหน้ารวบรวมปรับโครงสร้าง ไม่แพ้ประเทศไทยที่ปี 2021 เริ่มด้วยการควบรวม CAT กับ ทีโอที และ ตามมาด้วยกลุ่ม Gulf ถือหุ้นใหญ่ AIS จากกลุ่มพลังงานมาคุมธุรกิจสื่อสาร และล่าสุดส่งท้ายปีด้วยดีลระหว่างทรูกับดีแทค ที่ถือว่าผู้ประกอบการทุกรายต้องปรับตัว

 

ในต่างประเทศ ต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ประเทศอังกฤษ บริษัทแม่ Liberty Global และ Telefónica ตกลงเป็นครั้งแรกในการควบรวมสินทรัพย์ของพวกเขาในสหราชอาณาจักรที่ XNUMX และได้รับการอนุมัติเสร็จสิ้นจากหน่วยงานด้านการแข่งขันเมื่อเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อปรับตัวมาสู่เทตโนโลยีใหม่ โดยเป็นการควบรวมกิจการมูลค่า 5 พันล้านยูโรโดยให้คำมั่นที่จะ 'ปรับปรุง' สหราชอาณาจักรโดยลงทุนในไฟเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน XNUMXG

 

ในปีที่ผ่านมา ในประเทศออสเตรเลียก็ไม่แพ้กัน  มีการรวมกิจการระหว่าง Vodafone Hutchison Australia(VHA) และ TPG โดยบริษัท Telcos ได้ตัดสินใจที่จะเปิดตัว "Fusion of Equals Transaction เพื่อเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบครบวงจรของออสเตรเลีย"โดย TPG "การรวมกิจการจะสร้างผู้ท้าชิงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับ Telstra และ Optus ด้วยการเสนอขายโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือถือแบบครบวงจรและมีมูลค่าประมาณ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ"

 

ในฟากของอเมริกา ก็เกิดการควบกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint จะทำให้การแข่งขันในตลาดมือถือสหรัฐยุค 5G เข้มข้นขึ้น เพราะรายใหญ่อย่าง Verizon และ AT&T ต้องเจอกับคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อมากขึ้น ซึ่ง John Legere ก็ประกาศสงครามในแถลงการณ์ควบกิจการ ว่าบริษัทใหม่จะใช้อาวุธทุกอย่าง ทั้งเครือข่าย นวัตกรรม และราคา สู้กับรายใหญ่ทั้งสองการควบกิจการครั้งนี้ใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด (ไม่มีเงินสดเลย) โดยผู้ถือหุ้น Sprint จะได้รับหุ้น T-Mobile จำนวน 0.10256 หุ้น ทำให้มูลค่าของ Sprint ในการควบกิจการอยู่ที่ 59 พันล้านดอลลาร์ ส่วนบริษัทใหม่ที่ควบรวมเสร็จแล้วจะมีมูลค่า 146 พันล้านดอลลาร์ กระบวนการจะเสร็จสิ้นในครึ่งแรกของปี 2019

 

นอกจากนี้ ที่ประเทศอิตาลี ที่มีการควบรวมระหว่าง Hutch กับ Wind Italy และยังมีการควบรวมของบริษัทโทรคมนาคมอีกมากมายทั่วโลก ทำให้เห็นว่า บริษัทใหญ่ กลาง เล็ก ทั่วโลก ต้องปรับ แต่ที่แน่ๆ ไม่ต้องกลัวว่าควบรวมแล้วการแข่งขันจะลดลง เพราะตลาดโทรคมนาคม มีผู้เล่นดิจิทัลมากมายมาร่วมวง การโทร หรือส่งข้อความผ่านไลน์ การประชุมผ่าน Zoom หรือ Skype ล้วนมาเปลี่ยนบริบทการแข่งขัน หากบริษัทไทยไม่ปรับตัว

 

อาจต้องยืมคำพูด Stephen Elop ซีอีโอของโนเกียในตอนนั้นในวันอำลาตำแหน่ง ที่ปิดท้ายคำกล่าวของเขาไว้ว่า “เราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ถึงกระนั้นเราก็พ่ายแพ้ โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกินไป” 

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com