ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
4 ประเด็นสำคัญ ในเดือนสิงหาคม 2567
จอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลและธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก.ล.ต. จึงต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการระดมทุนโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี สนับสนุนการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทยให้มีคุณภาพ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และผู้ลงทุนได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายไทย พร้อมทั้งส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ในเดือนสิงหาคม 2567 ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์สินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติมอีก 4 เรื่องสำคัญ ทั้งด้านการสนับสนุนนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล และการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่
O การสนับสนุนนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ (Utility Token พร้อมใช้) ทั้งการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลในตลาดแรกและการกำกับดูแลตลาดรอง เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ความเสี่ยง และการใช้งาน utility token พร้อมใช้แต่ละประเภท เช่น
2. โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Regulatory Sandbox) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถทดสอบการให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นประโยชน์และพัฒนานวัตกรรมในตลาดทุนภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. อย่างเหมาะสม โดย ก.ล.ต. สามารถประเมินและติดตามความเสี่ยงเพื่อประโยชน์การวางแนวทางการกำกับดูแลต่อไป โดยผู้สนใจสามารถยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2567 (เป็นโครงการต่อเนื่องไม่มีกำหนดปิด)
O การเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านการบริหารกิจการ (governance) ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีกลไกการควบคุมดูแลการบริหารกิจการและการดำเนินงานอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับลักษณะและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น เช่น
2. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange rules) เพื่อให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกำหนด Exchange rules ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น