บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) เผยความสำเร็จใช้โซลูชันจาก Zoom ให้บริการลูกค้ารายใหญ่พิเศษ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันสร้างประสิทธิผลที่ดีมากยิ่งขึ้น
นายอารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) เดินหน้าวิสัยทัศน์การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่บริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถรับมือกับ “ดิสรัปชัน” ในภาคการเงิน และโมเดลทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Zoom นำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ เชื่อมต่อกับทีมงานเมย์แบงก์ทั่วโลก รวบรวมข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ใช้โซลูชันจาก Zoom เพื่อช่วยรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น การประชุมผ่าน Zoom ของพนักงานของบริษัทฯ ที่มีเกือบ 1,000 คนและทำงานอยู่ในสถานที่ต่างๆ ในช่วงการระบาดของโควิด 19นอกจากโซลูชันการประชุมเสมือนจริงเพื่อใช้ในการประชุมงานของพนักงานแล้ว หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ ยังใช้ Zoom เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมขายที่มีที่ปรึกษาด้านการลงทุนเกือบ 600 คน หากขาดการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ทีมงานจะขาดข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Zoom Phone ถือเป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทได้ดีที่สุด นอกจาก Zoom Phone จะช่วยให้บริษัทปฏิบัติตามข้อบังคับด้านการบันทึกการโทรแล้ว ยังให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการโต้ตอบกับลูกค้า ความสามารถของ Zoom Phone ในการติดตามการโทร วิเคราะห์การมีส่วนร่วมของลูกค้า และค้นหารูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายด้านประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) สามารถปรับปรุงกลยุทธ์การขายและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้ Zoom Phone เพื่อช่วยเรื่องการโทรมากกว่า 100,000 สายต่อเดือน โดยเน้นที่การได้ผลลัพธ์ที่เป็นบวกจากการโทรแต่ละครั้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการโต้ตอบกับลูกค้า และเพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายของลูกค้าให้มากขึ้น
ความร่วมมือระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) และ Zoom ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่บริการทางการเงินที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ โดยความร่วมมือเชิงลึกระหว่าง หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) และ Zoom ไม่ได้เป็นเพียงการอัปเกรดซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างการใช้งาน พอร์ทัลที่ใช้ร่วมกัน และการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เป้าหมายคือการใช้ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า