Public Relation

MFC เล็งเปิดขายกองทุนเปิด MPCREDIT-UI โอกาสรับผลตอบแทนสูงจาก Private Credit 
10 พ.ค. 2567

บลจ.เอ็มเอฟซี เล็งเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (MPCREDIT-UI) กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในPrivate Credit ต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมโดยตรงกับบริษัทเอกชน โดยมีหลักประกัน ชูจุดเด่นบริหารจัดการโดย Apollo บริษัทจัดการลงทุนด้าน Private Assets ขนาดใหญ่ ผู้นำอันดับหนึ่งด้านการลงทุนใน Private Credit หวังเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงในสภาวะตลาดผันผวน และดอกเบี้ยเฟดอยู่ในระดับสูง เน้นขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เปิดโอกาสไถ่ถอนได้ทุกไตรมาส

 

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ในสภาวะปัจจุบันที่ตลาดมีความผันผวน บลจ. เอ็มเอฟซี ยังคงมุ่งเน้นแสวงหาการลงทุน  ที่สามารถสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอให้แก่ลูกค้า เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน ซึ่งการลงทุนที่ทางMFC เห็นว่าเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี คือ การลงทุนใน Private Credit ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยตรงแก่บริษัทเอกชน โดยผู้ให้กู้ที่ไม่ใช่ธนาคาร ทำให้มีการเรียกหลักประกัน รวมถึงเงื่อนไขพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้และให้ผลตอบแทนที่ดี โดยเฉพาะถ้าเทียบกับการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน ซึ่ง MFC ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกกองทุนอย่างรอบคอบ โดยระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องความเสี่ยงของการลงทุนใน Private Credit  

 

บลจ.เอ็มเอฟซี มองว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Private Credit ในช่วงเวลานี้มีความน่าสนใจจากสภาวะตลาดในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอยู่ในระดับสูง จึงทำให้โอกาสการสร้างผลตอบแทนจาก Private Credit สูงไปด้วย   

 

บลจ.เอ็มเอฟซี ขอแนะนำกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย(MFC Private Credit Solution Not for Retail Investors) (MPCREDIT-UI) ซึ่งเป็นกองทุนที่เสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ประเภท Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุน Private Credit ต่างประเทศ ที่ทุกท่านสามารถลงทุนได้ทุกเดือน และสามารถไถ่ถอนได้ทุกไตรมาสตามเงื่อนไขของกองทุน โดยบริหารจัดการโดย Apollo Asset Management ซึ่งเป็นบริษัทจัดการลงทุนด้าน Private Assets ขนาดใหญ่ และผู้นำอันดับหนึ่งด้านการลงทุนใน Private Credit 

 

ปัจจุบัน Apollo มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารกว่า 650,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วโลก หนึ่งในจุดเด่นของ Apollo คือ Apollo จะใช้เงินของบริษัทในเครือ ร่วมลงทุนในPrivate Credit ส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนอยู่ ควบคู่กันไป  ดังนั้น นักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่า Apollo มีความสนใจร่วม ที่จะคัดเลือกลงทุน Private Credit ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของกองทุนและของ Apollo เองเป็นอย่างดี 

 

นายธนโชติ กล่าวอีกว่า Private Credit ประเภทการให้กู้ยืมเงินโดยตรงแก่บริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูง และมีความสัมพันธ์ตํ่ากับตลาดการลงทุนโดยรวม ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้มีข้อดีที่    จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม เพื่อชดเชยกับการมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่จํากัด และเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน แต่มีลักษณะเฉพาะที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการบริหารการลงทุนโดยความเสี่ยงที่เป็นข้อจำกัด คือความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เนื่องการเป็นการปล่อยกู้เพื่อไปทำธุรกิจ ดังนั้นก็จะมีระยะเวลาแตกต่างจากหุ้นที่ซื้อวันนี้สามารถขายพรุ่งนี้ได้เลย แต่กองทุนนี้ก็มีการเปิดโอกาสให้ขายได้ไตรมาสละ 1 ครั้ง แต่ข้อดีคือ การให้กู้ยืมเงินโดยตรงนี้ แตกต่างจากซื้อหุ้นกู้ เพราะเป็นการปล่อยกู้แบบมีหลักประกัน และถ้าเกิดผิดนัดชำระหนี้ขึ้น ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยตรงจะได้รับคืนเป็นรายแรกก่อนผู้ถือหุ้นกู้ เพราะเงื่อนไขสัญญากู้ออกแบบให้เราเป็นเจ้าแรกที่ได้รับชำระคืนก่อน และเรื่องของ LTV (Loan to Value) สมมติหลักทรัพย์มีมูลค่า 100 ล้านบาทก็จะปล่อยกู้ 40 ล้านบาท หลักประกันก็จะครอบคลุมมูลหนี้มากกว่า 2 เท่า  ซึ่งเงื่อนไขสัญญาต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของกองทุน ขณะที่ปัจจุบัน ดอกเบี้ยปล่อยกู้อยู่ที่ 11-13 % ต่อปี    ในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจาก Apollo ออกแบบการบริหารจัดการที่ดี ทำให้การลงทุนมีความเสี่ยงไม่สูง แต่ได้ผลตอบแทนที่ดี อีกอย่าง Apollo เป็นผู้ลงทุนใน Private Credit รายใหญ่ๆ จึงมีบริษัทต่างๆ เข้ามาขอกู้จำนวนมาก ขณะที่ธนาคารมีข้อจำกัดในการปล่อยกู้เพราะกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ทำให้ Apollo มีโอกาสคัดเลือกบริษัทที่ต้องการกู้ได้ (อัตราการคัดเลือก 5 จาก 100 บริษัท) และสามารถเลือกปล่อยกู้ให้กับบริษัทชั้นนำและมีคุณภาพดี    ในอุตสาหกรรมนั้นๆ พร้อมเงื่อนไขที่ช่วยลดความเสี่ยงของการปล่อยกู้ลงได้มาก อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในพอร์ต Apollo (ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา) ต่ำมาก แค่ 0.1% ต่อปี ดังนั้นการลงทุนใน Private Credit ภายใต้การจัดการของ Apollo จึงน่าจะให้อัตราผลตอบแทนสูงเทียบกับความเสี่ยง และมีผลการดำเนินงานที่ทำได้จริง

 

นายธนโชติ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเฟดอยู่ในระดับสูง การปล่อยกู้แบบ Private Credit   จะให้ผลตอบแทนที่สูง โดยปัจจุบันอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10-11% ต่อปี และในอดีตแม้จะไม่สูงเท่าปัจจุบันแต่ก็อยู่ที่ประมาณ 9-10% และแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะปรับลดลงเร็ว เพราะอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าปีนี้จะปรับลดลงประมาณ 1 ครั้ง  หรือ 0.25%  และกลางปีหน้าก็คาดว่าจะปรับลดลงอีก 1 ครั้ง หรือ 0.25% ซึ่งก็ยังทำให้อัตราผลตอบแทนยังอยู่ ในระดับไม่ต่ำกว่า 10% ถือเป็นระดับที่สูงและน่าสนใจ

 

“เอ็มเอฟซี มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่จะแสวงหาโอกาสในการลงทุนที่ดี ทันต่อสถานการณ์การลงทุน ให้กับนักลงทุน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับท่านที่มองหาโอกาสการลงทุน ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ”     นายธนโชติ กล่าว  

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com