Economies

รมว.คลัง หารือ ธปท. ดูแลเศรษฐกิจไทย ฟื้นตัวต่อเนื่อง ชี้บาทอ่อนดันท่องเที่ยวและส่งออกโตดี 
22 ก.ย. 2565

รมว.คลัง เผยหารือกับแบงก์ชาติประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงที่โลกผันผวน ชี้กนง. ชั่งน้ำหนัก 3 ปัจจัยสำคัญ "เศรษฐกิจโตต่อเนื่อง -เงินทุนไหลออก-เงินเฟ้อสูง" มั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้ โต 3-3.5%ตามคาดไว้ แรงส่งจากภาคท่องเที่ยวที่ต่างชาติเข้าไทยและภาคส่งออกได้อานิสงส์เงินบาทอ่อน พร้อมกับติดตามผลของราคาน้ำมัน-ราคาสินค้า และประเมินหลังขึ้นดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ  ส่องโอกาสตลาดส่งออกในเวียดนามเติบโตตามเศรษฐกิจ   ด้าน EXIM BANK ชูเครื่องมือทางการเงินครบวงจร และติดอาวุธความรู้และเสริมแกร่งพันธมิตรให้ผู้ประกอบการไทยก้าวไปอย่างมั่นใจ


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในเช้าวันนี้ ตนได้มีการร่วมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่มีความผันผวน ซึ่งจะเป้นผู้ดูแลและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังจากที่เมื่อวานผลประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับขึ้น 0.75% ซึ่งปกติ เฟดจะดูเป้าหมาย 2 ตัวหลัก คือ เรื่องเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ Growth GDP  และด้านเสถียรภาพทงราคา แต่ในเวลานี้ สถานการ์เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงและมีผลต่อเงินเฟ้อสูง  จึงจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยยอมให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลง เพื่อดึงเงินเฟ้อลงมา แต่ก็ต้องรอดุผลการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะถึงรอบการประชุมของ Fed ในรอบต่อไปว่าที่ทำมามีผลต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออยางไรบ้าง 

 

ทั้งนี้ Fed ส่งสัญญาณว่า มีเป้าหมายที่จะขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ที่ระดับ 4.4-4.5% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์เดิมที่ 3.25% 

 

"ส่วนประเทศต่างๆ จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือไม่นั้น  ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ บางประเทศฟื้นตัวเร็วหรือบางประเทศฟื้นตัวช้า  เมื่อมีเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยด้านต้นทุนผลิตจะแก้ไขยังไง จะขึ้นดอกเบี้ยไหมขึ้นกับความจำเป็นของสถานการณ์ที่เกืดขึ้นในแต่ละประเทศ ส่วนประเทศไทย ธปท. ต้องการความมั่นใจการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เรื่องต่อมา ผลต่อการขึ้นดอกเบี้ย กับเงินทุนเคลื่อนย้าย ธปท.บอกว่าไม่ได้ไหลออกมาก และผลต่อเงินเฟ้อ ก็มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยฟื้่นตัวได้ ซึ่งปีที่แล้ว เศรษฐกิจไทยโต 1.5% ปีนี้คาดการณ์โต 3-3.5% ถือเป็นอัตราการเติบโตที่คาดว่าจะทำได้ สิ่งที่เป็นผลบวกคือ เรื่องของความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไทยในปัจจุบันมีจำนวน 5 ล้านคน จากเป้าหมาย 8 ล้านคน ถือเป็นปัจจัยที่เสริมให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นโดยลำดับ และภาคส่งออกไทยก็ยังได้อานิสงส์จากเงินบาทอ่อนด้วยโดยเฉพาะหมวดอาหารที่ได้ประโยชน์เต็ม อุตสาหกรรมรถ เซมิคอนเดอร์"รมว.คลังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ขึ้นกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ จะพิจารณาให้น้ำหนักตัวไหนจาก 3 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น ซึ่งธปท.ก็มีติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกไม่ได้แกว่งตัวมาก โดยค่ากลางของราคาอยู่ในระดับที่ 90-95 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล  ซึ่งต่ำกว่า 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ /บาร์เรล ก็ยังต้องติดตามอยู่ตลอดรวมถึงราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นด้วย เช่นเดียวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมา ธปท.ก็จะมีการประะเมินสถานการณ์อยู่แล้ว 

 

สำหรับในงานสัมมนา”Vietnam in Focus 2022 : The Dream Journey” จัดโดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ซึ่งมี รมว. กระทรวงการคลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว  ได้กล่าวว่า ในโลกยุค  Next Normal หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาท โควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาพร้อมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกพร้อมกับโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจ โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างเวียดนามที่มาแรงด้วยจำนวนประชากรเกือบ 100 ล้านคน และเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูงเกือบ 7% ต่อปี โดยเวียดนามเมินตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทยรองจากสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ อันดับ 10 

 

ขณะที่การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามมีพัฒนาการดีอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2535 เป็นราว 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงในปัจจุบัน หรือขยายตัวเกือบ 20% ต่อปี นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยัง มีนโยบายส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนเป้าหมายสำคัญ ของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งไทยซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 8 ในเวียดนาม ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่ง ขยายความร่วมมือกับเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายระหว่างประเทศหรือลงทุนร่วมกัน 

 

อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยพร้อมส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในมิติการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งในมิติการเงินการคลัง ผ่านการสนับสนุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการทำหน้าที่ในเชิงรุกสู่บทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา พร้อมทั้งขับเคลื่อนการพัฒนา อุตสาหกรรมสู่อนาคต เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ของไทย เชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคในกรอบความร่วมมือ ภายใต้อาเซียนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)

 

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันหัวใจสำคัญของการแข่งขันในตลาดโลกยุค Next Normal ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ธนาคารจึงพร้อมทำหน้าที่มากกว่าธนาคารช่วยผู้ประกอบการไทยทุกระดับ โดยธนาคารมีเครื่องมือทางการเงินครบวงจร ควบคู่กับข้อมูลความรู้และเครือข่ายพันธมิตรที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมั่นใจ ทั้งในตลาดใหม่และตลาดเดิม 

 

สำหรับผลการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนส.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารมียอดคงค้างสินเชื่อ โครงการระหว่างประเทศทั้งสิ้น 67,458 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,271 ล้านบาท หรือ 6.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อจำแนกเป็นรายตลาดที่สำคัญ ธนาคารสนับสนุนธุรกิจไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตลาดใหม่ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนแรก ธนาคาร มีสินเชื่อคงค้าง CLMV และ Now Frontiers จำนวน 53,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,804 ล้านบาทหรือ 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นสินเชื่อคงค้างในเวียดนาม 14,960 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.4%

 

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com