ายแบงก์หญิงกสิกรไทย "ขัตติยา" ชี้ ESG ดิสรัปธุรกิจให้เร่งปรับตัว และสร้างจุดเปลี่ยนศักยภาพเศรษฐกิจไทย ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ต้องคว้าไว้ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่และนักลงทุนที่ให้น้ำหนัก ESG มากขึ้น พร้อมทุ่ม 2 แสนล้าน นำทัพลูกค้าขับเคลื่อนสร้างจุดเปลี่ยนใหญ่ ESG และก้าวสู่ Net Zero Carbon ตามเป้าปี 2573
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนา “ESG Forum” ภายใต้หัวข้อ “จุดเปลี่ยน…ศักยภาพใหม่เศรษฐกิจไทย” จัดโดย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อช่วงที่ผ่านมา จะเห็นสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงโลกชัดเจนมากรวมถึงประเทศไทย ที่เรียกกันว่า Climate Change สิ่งที่เป็นโจทย์เวลานี้ เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ภาคธุรกิจภาคการธนาคารแต่ละแห่งจะคว้าโอกาสนี้อย่างไรกํบความท้าทายของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ซึ่งมีหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนไปทั้งเชิงโครงสร้างประชากร พนักงานลูกจ้างที่เ,ยนไป ความชอบที่เปลี่ยนไป เรื่องของ Climate Change เกิดขึ้นด้วย รวมๆคือภาพของ ESG หรือ Environment , Social and Governance ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6 กลุ่มด้วยกัน
จากผลสำรวจที่ทำร่วมกับ PWC ออกมาพบว่า 1. ลูกค้าของธนาคารพร้อมจ่ายเงินสำหรับผลิตถัณฑ์ที่เป็น ESG ทำให้พนักงานรู้สึกตัวเองมีคุณค่าแก่องค์กร และเห็นความสำคัญในการจะยกระดับ ESG เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
"2 นักลงทุน ตอนนี้ก่อนตัดสินใจใดๆ จะมองหาเกณฑ์ว่าผ่านเกณฑ์ ESG ไหม ถึงจะลงทุน ที่น่าสนใจทั้งผู้จัดการกองทุนและนักลงทนมีความเข้าใจมากๆต่อการลงทุนใน ESG ที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะฉะนั้น เขาจะถามเรื่องเราพร้อมแค่ไหนเรื่องอีเอสจี ซึ่งเคแบงก์ผ่านเกณฑ์ 3 ผู้กำกับดูแลกฎเกณฑ์ เปลี่ยนผ่านสู่ความพร้อมโลกที่มีกติกาใหม่นี้ 4 Suppllier เลือกที่จะทำงานกับองค์กรที่มีอุดมการณืเรื่อง ESG ถึงจะไปกันได้ 5 สังคม ชุมชนที่อยู่ อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของโลกและของคนในรุ่นนี้ในชาตินี้ นี่คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถ้าเราไม่ทำ ก็จะสูญเสียความเชื่อมั่น ชื่อเสียง เสียโอกาสการทำธุรกิจการเติบโต เนื่องจากเรื่อง ESG ไม่ใช่เรื่องของ CSR หรือการกุศล แต่เป็นเรื่องของธุรกิจล้วน ๆ" เพราะผู้ลงทุนให้ความสนใจมากขึ้น"
สำหรับธนาคารกสิกรไทย มีแผนที่จะขับเคลื่อนไปสู่ ESG เป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน ทำงาน สัมผัสลูกค้า ผลิตภัณฑ์เงินฝาก เงินลงทุน ซึ่งจะต้องสอดคล้องไปทิศทางไปทิศทางเดียวกันคือ มุ่งสู่การตอบโจทยความยั่งยืน เพราะต้องการสร้าง Empower ให้กับธุรกิจและลูกค้าของธนาคาร อย่างไรก็ตาม เรื่อง ESG มีความซับซ้อนว่าอย่างไหนใช่หรือไม่ใช่ ESG จึงยังเป็นโจทย์ของธนาคารที่อยากให้บริการทางการเงินที่ดีแก่ลูกค้าและเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจที่เติบโต ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ทำโครงการ “GO GREEN Together” สนับสนุนให้เกิด Green Ecosystem สู่การเป็น Net Zero Carbon ภายในปี 2573 โดยได้เตรียมวงเงินไว้ที่ 2 แสนล้านบาท เพื่อสนับสนุนลูกค้าก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้าน ESG หรือเศรษฐกิจสีเขียว ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
โดยธนาคารเริ่มจากพอร์ตที่มีอยู่ 2 ล้านล้านบาท แม้ว่าธนาคารจะทำให้เป็น Net Zero Carbon ทั้งหมดไม่ได้ แต่ธนาคารจะพิจารณาในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด จะมีการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพูดคุยกับลูกค้า เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ธนาคารจะทยอยลดการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงเป็น Net Zero Carbon ด้วยกันตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับ การดำเนินการผลักดัน “ESG” ให้สำเร็จได้จะต้องมี 8 ด้านด้วยกัน คือ 1.Mindset หรือ แนวคิด จะเป็น Game Changer ที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง 2.ต้นทุนที่ถูก โดยลูกค้าที่ชอบสินค้าจะต้องได้ในราคาที่ถูกด้วย 3.การระดมเงินทุน หากสามารถระดมทุนจากคนที่มีแนวคิดเดียวกันจะทำให้การระดมทุนง่ายขึ้น 4. scale การทำจำเเป็นต้องมีขนาดใหญ่ 5. จะต้องทำงานร่วมกันให้เกิดเป็น Ecosystem 6. Operation ทั้งในเรื่องของ Product และ Process ที่จะต้องไปในทิศทางเดียวกันคือ ตอบโจทย์สร้างความยั่งยืน 7.บุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านนี้จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น 8. Low-cost financial การวางแผนระดมเงินทุนจะต้องมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด
“ESG ไม่ใช่ CSR หรือการกุศล แต่จะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่จะมาดิสรัปชั่น หากใครไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทัน หรือคว้าโอกาสไว้ ก็จะเหนื่อย และจะล้าหลัง เพราะการทำ ESG ทำไม่ง่าย และทำแล้วต้องบาลานซ์ให้ดี โจทย์ซับซ้อน ทำยาก ต้นทุนเงินลงทุนมาก ลูกค้าก็จะไม่ไหว หรือถ้าปล่อยสินเชื่อไม่ดูให้ดีก็จะกลายเป็นความเสี่ยงหนี้เสียในอนาคตได้ การจะทำ ก็ต้องทำให้เกิดเสถียรภาพทางพลังงาน ด้านทางการเงิน และต้องทำกันทั้งซัพพลายเชน เราพร้อมทำกับทุกคนที่มีปรัชญาเดียวกัน เพื่อให้เกิดศักยภาพทางเศรษฐกิจไทย" นางขัตติยากล่าว