ธ.ก.ส. รับลูกรัฐ! สั่งสาขาทั่วไทย ปล่อยสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทยในอิสราเอล เติมสภาพคล่อง-เริ่มต้นสร้างอาชีพใหม พร้อมชงบอร์ดเพิ่มมาตรการเยียวยา ลดดบ.-ยกหนี้ คาดเริ่มกลาง พ.ย. ส่วนมาตรการพักหนี้เกษตรกร มียอดทะลุ 1 ล้านราย หรือ50%ของลูกค้าที่ได้สิทธิ
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า จาก มติ ครม. อนุมัตืโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทยในอิสราเอล วงเงิน2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยต่ำ 3% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานไทยที่กลับมาตากอิสราเอล ซึ่งโครงการนี้จะมีธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส ดำเนินการปล่อยสินเชื่อแห่งละ 1,000 ล้านบาท เพื่อดูแลคนไทยในอิสราเอลที่กลับมาต้องการรเริ่มต้นประกอบอาชีพ และช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับครอบครัวแรงงานเหล่านี้ โดยจะปล่อยสินเชื่อให้รายละไม่เกิน 150,000 บาท ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ผ่อนชำระ 20 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี สามารถยื่นสมัครสินเชื่อฯได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 มิ.ย. 2567
"โครงการสินเขื่อคืนถิ่นฯ เราสั่งสาขาทั่วประเทศให้เริ่มดำเนินการไปแล่ว ดอกเบี้ยต่ำ3% จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐในส่วนดอกเบี้ยออก 2% และทางธ.ก.ส. ออก 1% คุณสมบัติผู้กู้ต้องกลับมาจากอิสราเอล ต้องการเริ่มต้นทำอาชีพ จึงขอสินเชื่อนี้ได้ ตอนนี้สามารถยื่นได้ทั่วที่สาขาประเทศ"
พร้อมกันนี้ ธ.ก.ส. เตรียมออกมาตรการสินเชื่อเยียวยาแรงงานเพิ่มเติม เพื่อดูแลลูกค้ากลุ่มเกษตรกรและบุคคลในครอบครัว ซึ่งต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อนำมาชำระหนี้สิน ส่วนกรณีลูกค้า ธ.ก.ส. เสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์ที่อิสราเอล ธ.ก.ส. จะยกหนี้ให้ สำหรับกรณีลูกค้าแรงงานที่มีสัญญากู้อื่นๆที่ผูกพัน ธนาคารจะลดดอกเบี้ยลง 2.5% ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี ซึ่งมาตรการสินเชื่อเยียวยานี้ฯอยู่ระหว่างรอเสนอคณะกรรมการธนาคาร พิจารณาแพ็คเกจการเยียวยา จะลดดอกเบี้ยให้เหลือ 2.5% โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในช่วง กลางเดือน พ.ย. 2566 "
นายฉัตรชัย กล่าวถึง ความคืบหน้า โครงการพักหนี้เกษตรกร ล่าสุด ยอดเกษตกรแสดงความประสงค์และตรวจสอบสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อยผ่าน BAAC mobile ณ วันที่ 1 พ.ย. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 1,097,094 ราย คิดเป็น 51% ของทั้งหมด 2 ล้านราย ที่ได้สิทธิเช้าร่วมโครงการ ซึ่งลูกค้าบางส่วนอีก 3 แสนราย ยังอยู่ในโครงการพิเศษซึ่งมีความทับซ้อนอยู่ แต่คาดว่าภายในไม่เกิน 1 เดือน ลูกค้าเข้าร่วมโครงการน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 80%
ทั้งนี้ ลูกค้าที่จะเข้าร่วมโครงการสินเชื่อพักหนี้ วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย ต้องนำเอกสารเข้ามาตรการพักหนี้และฟื้นฟูเรียบร้อยก่อนจึงจะกู้ได้ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ร่วมโครงการประมาณ 85% ส่วนที่เหลือ 15% อาจติดเรื่องผู้ค้ำประกัน หรือ ติดข้อสัญญาต่างๆ อย่างไรก็ตามธ.ก.ส.จะพยามช่วยลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยลดภาระเกษตรกรได้วัตถุประสงค์ให้ได้มากที่สุด”นายฉัตรชัย กล่าว