ธปท. เดินหนิาออกมาตรการแก้ปนี้ยั่งยืน พร้อมเข้าดูแลตลอดช่วงเริ่มต้นเป็นหนี้จนปิดหนี้ ทะยอยออกเกณฑ์ในไตรมาส 4/66 พร้อมลุยแก้หนี้เรื้อรัง 5 ปี จำนวน 5 แสนบัญชี หวังช่วยให้หลุดพ้นวังวนหนี้ครัวเรือน
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความรืบหน้า "แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน" (Directional Paper) ว่า ตั้งแต่ ปี 2563 มาตรการ ธปท. ส่วนใหญ่ เน้นช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 และเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ธปท. จึงปรับมาตรการไปเน้นการแก้หนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้
ปัจจุบัน เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้รายได้ของลูกหนี้เริ่มกลับมาดีขึ้น ขณะที่รายได้ลูกหนี้ บางกลุ่มยังฟื้นตัวช้า ธปท. จึงออกมาตรการที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้ตรงจุด และยั่งยืนขึ้น โดยจะยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ กําลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เมื่อหนี้มีปัญหา และเมื่อมีการขาย/ฟ้องหนี้ ได้แก่ (1) หนี้เสีย ให้สามารถแก้ไขได้ (2) หนี้เรื้อรังให้มีทางเลือกปิดจบหนี้ได้ (3) หนี้ใหม่ ให้มีคุณภาพ ไม่กลายเป็นปัญหาในอนาคตและ (4) หนี้นอกระบบ ให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้ามากู้ในระบบได้ โดยมาตรการที่จะเร่งบังคับใช้ก่อน คือ การให้ สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) ที่รวมถึงการดูแลหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt)
" มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ของธปท.ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับพฤติกรรมของเจ้าหนี้และลูกหนี้ ในการช่วยแก้ปัญหาหนี้เดิม ดูแลหนี้ใหม่ และทำให้หนี้ครัวเรือนของไทยลดลงสู่ระดับที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน และในไตรมาส 3 นี้ ธปท.จะเปิดรับฟังความเห็น หลังจาแนั้น จะทยอยออกเกณฑ์ได้ภายในไตรมาส 4 นี้" นายรณดลกล่าว
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่าการออกมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ช่วยกำหนดให้สถาบันการเงินให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดช่วงเวลาของการเป็นหนี้ หรือ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เป็นหนี้ที่มีปัญหา และสุดท้ายคือ ระยะการขายหนี้ โดยเริ่มแรก จะต้องให้ข้อมูลเพื่อกระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ให้มีวินัยทางการเงิน รวมถึงให้ข้อมูลถูกต้องชัดเจน ครบถ้วนและเปรียบเทียบได้ ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว
พร้อมกันนี้ ธปท. จะออกมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง โดยปัจจุบัน มีลูกหนี้กลุ่มยี้ถึง 5 แสนบัญชี ซึ่งกลุ่มลูกหนี้อรื้อรังจะเน้นสินเขื่อส่วนบุคคลที่เป็นเงินหมุนเวียน มีสถานะเป็นลูกหนี้ปกติ มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น ซึ่งมาตรการฯที่จะออกมานี้เพื่ อช่วยเหลือให้ลูกหนี้ด้งกล่าวปิดจบได้เร็วขึ้นและมีเงินเหลือดำรงชีพ
สำหรับกลุ่มที่เป็นลูกหนี้เรื้อรัง จะพิจารณาจากข้อมูลประวัติชำระหนี้ย้อนหลัง 5 ปี และเป็นลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์ เป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท กรณีเป็นลูกหนี้นอนแบงก์ รายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ส่วนเงื่อนไขสำคัญหากเข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ลูกหนี้จะไม่สามารถเบิกเงินเพิ่มยกเว้นกรณีฉุกเฉิน และจะมีการรายงานข้อมูลประวัติเครดิตเขิาโครงการ ปรับโครงสร้างหนี้ กลุ่ม PD ซึ่งคาดจะเริ่มใช้ 1 เม.ย. 2567
อีกมาตรการ คือ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ เพื่อเปิดทางให้คนมีหนี้นอกระบบ สามารถเข้ามาสู่ระบบ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูง หากความเสี่ยงจ่ำก็จะได้ดอกเบี้ยถูกกว่านอกระบบ นอกจากนี้ จะมีมาตรการกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้เพื่อดูแลการก่อหนี้ให้มีคุณภาพ (DSR) โดยเริ่มกับ สินเชื่ออุปโภคบริโภคทุกประเภท ที่กำหนดว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือนกำหนด DSR (รวมภาระหนี้ใหม่) ต้องไม่เกิน 60% และผู้ทีรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน DSR (รวมภาระหนี้ใหม่) ต้องไม่เกิน 70% ซึ่งมาตรการนี้ คาดจะเริ่มใช้ 1 ม.ค. 2568
ธปท. สรุปสาระสําคัญเกี่ยวกับมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ดังนี้
(1) ผู้ให้บริการต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้ ได้แก
-ก่อน/กําลังจะเป็นหนี้ ต้องโฆษณาและเสนอขายผลิตภัณฑ์ โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ชัดเจน ไม่กระตุ้นให้ลูกหนี้เป็นหนี้เกินตัว
-ระหว่างเป็นหนี้ ส่งเสริมการให้ข้อมูลเงื่อนไขและคําเตือนที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อกระตุกพฤติกรรม ลูกหนี้ (nudge) รวมถึงสร้างเครื่องมือช่วยสนับสนุนให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงิน เช่น ทําระบบอัตโนมัติให้ ลูกหนี้จ่ายชําระมากกว่าขั้นต่ำ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบร้ย เมื่อลูกหนี้มีปัญหาชําระหนี้ ต้องมีแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะกับความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้ และ
- เมื่อจะดําเนินคดีและโอนขายหนี้ ต้องแจ้งสิทธิและข้อมูลสําคัญแก่ลูกหนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้ตลอดจนผู้รับโอนหนี้ต้องกําหนดเงื่อนไขการชําระหนี้อย่างเหมาะสม
ข
(2) ผู้ให้บริการต้องดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา) โดยจะต้องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหมุนเวียน (revolving personal loan) ที่มีรายได้น้อยและเป็นหนี้เรื้อรัง ให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และมีเงินเหลือพอดํารงชีพ ทั้งนี้ลูกหนี้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการปรับโครงสร้างหนี้ ( opt-in) ต้องปิดวงเงิน revolving ดังกล่าว เพื่อไม่ก่อหนี้เพิ่ม และควรมีการรายงานประวัติข้อมูลเครดิตว่าลูกหนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้
มาตรการ responsible lending นี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เว้นแต่ส่วนที่เกี่ยวกับ การแก้หนี้เรื้อรัง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 เพื่อให้ผู้ให้บริการมีเวลาในการปรับระบบงาน และจะทยอยใช้ตามระดับรายได้ของลูกหนี้ ซึ่งจะแตกต่างกันในผู้ให้บริการแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ ธปท. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การทดสอบโครงการ Sandbox ในการกําหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk- based pricing: RBP) และการกําหนดภาระหนี้ต่อรายได้(debt service ratio: DSR) โดยมาตรการ RBP จะเป็นกลไกช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าเพดานดอกเบี้ยปัจจุบันสามารถเข้าถึงสินเชื่อใน ระบบได้มากขึ้นขณะที่กลุ่มลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ําหรือมีประวัติการชําระหนี้ดี จะมีโอกาสได้รับอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ําลงกว่าเพดานดอกเบี้ยปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสินเชื่อที่ดี โดยจะยังไม่มีการยกเลิกหรือ ขยับเพดานดอกเบี้ยปัจจุบันเป็นการทั่วไป
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ปี 2567 ธปท. จะให้ผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนด1 เข้าทดสอบการให้ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการ ประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ เป็นเวลา 1 – 2 ปีโดยผู้ให้บริการต้องเสนอระบบประเมินความเสี่ยงและ รูปแบบการกระจายตัวของดอกเบี้ยในแต่ละกลุ่มลูกหนี้ให้ ธปท. พิจารณาก่อนเข้าทดสอบ และเมื่อผ่าน การทดสอบ ผู้ให้บริการจึงจะให้สินเชื่อภายใต้เพดานดอกเบี้ยใหม่ได้ โดย ธปท. จะกําหนดหลักเกณฑ์การ ออกจากโครงการ Sandbox ที่วัดความสําเร็จได้ชัดเจน สําหรับผู้ให้บริการที่ไม่ผ่านการทดสอบจะต้อง กลับไปใช้เพดานดอกเบี้ยเดิม ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ ธปท. จะดําเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่า กลไกนี้จะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้อย่างแท้จริง
สําหรับมาตรการ DSR ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ(macroprudential policy) เพื่อดูแลการก่อหนี้ใหม่ ลดการก่อหนี้เกินตัว ให้ลูกหนี้มีรายได้หลังชําระหนี้เพียงพอต่อการดํารงชีพ ซึ่งในระยะแรกจะเริ่มใช้กับสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกํากับ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของปัญหาหนี้ครัวเรือนก่อน อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อ ได้เกิน DSR ที่กําหนดได้ หากแสดงให้เห็นได้ว่าลูกหนี้มีความสามารถเพียงพอที่จะชําระหนี้ เพื่อลดโอกาสที่ ลูกหนี้บางส่วนอาจต้องออกไปนอกระบบ ในเบื้องต้นธปท. มีแผนจะบังคับใช้มาตรการนี้ในปี 2568 โดยจะ ประเมินสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งการบังคับใช้มาตรการ จะต้องสื่อสารล่วงหน้าให้ ประชาชนและผู้ให้บริการมีเวลาในการปรับตัว
นอกจากการดําเนินการตามแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนข้างต้นแล้ว การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรอื น ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้ อยู่ภายใต้การกํากับของ ธปท. ด้วย เช่น (1) การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน (2) การให้ สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทุกประเภท (3) การมีกลไกให้คําปรึกษาและไกล่เกลี่ยหนี้เป็นระบบ และ (4) การวางรากฐานให้กับประเทศ ทั้งการพัฒนาฐานข้อมูลเครดิตและข้อมูลทางเลือกที่ใช้ประเมินและติดตาม หนี้ ตลอดจนการสร้างรายได้ไปพร้อมกับการแก้ปัญหาหนี้