นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ หรือ TISCO ESU เปิดเผยว่า ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้มองว่าตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนที่ผ่านมาได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไปมากแล้ว และมูลค่าหุ้น (Valuation) ที่ขึ้นมาแพงทำให้ตลาดมีโอกาสปรับขึ้น (Upside) จำกัด ในขณะที่สภาพคล่องที่มีแนวโน้มกลับมาลดลงนับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะกดดันตลาดในระยะข้างหน้า จึงขอเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังการลงทุนและอย่าชะล่าใจเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นและรอจังหวะลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้เมื่อราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสม
“ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้มองว่า ตลาดหุ้นจะขึ้นต่อจากนี้ได้จำกัดเนื่่องจากมูลค่า (Valuation) ของตลาดในปัจจุบันที่ค่อนข้างแพงได้สะท้อนความคาดหวังของภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไปมากแล้ว โดยดัชนี S&P500 ได้ขึ้นมาเทรดที่ระดับ P/E ประมาณ 18 เท่า ซึ่งนับเป็นกรอบบนของช่วงการเทรดตั้งแต่ปี 2558-2562" นายคมศรกล่าว
นอกจากนี้ สภาพคล่องที่มีส่วนสำคัญในการหนุนตลาดขึ้นในช่วงที่ผ่านมายังมีแนวโน้มกลับมาลดลงในระยะข้างหน้า โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะเดินหน้าลดขนาดงบดุลไปตลอดทั้งปีนี้ ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องโลกลดลงราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็เริ่มลดขนาดงบดุลด้วยการเรียกคืนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ไปในช่วงปี 2557-2562 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการลดการถือครองสินทรัพย์ ในช่วงไตรมาส 2
ในส่วนของธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดว่า BoJ จะพิจารณาขยายกรอบ หรือยกเลิก Yield curve control ในไตรมาส 2 ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการแทรกแซงตลาดพันธบัตรและสุดท้ายหากรัฐสภาสหรัฐฯ ตกลงยกระดับเพดานหนี้ได้สำเร็จ สหรัฐฯ ก็จะมีการออกขายพันธบัตรใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อชดเชยเงินในบัญชีสำรองที่ลดลง ซึ่งจะเป็นการดึงสภาพคล่องออกไปจากระบบอีกทางหนึ่ง
นายคมศรกล่าวอีกว่า สำหรับปัจจัยบวกที่หนุนให้ราคาหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเพราะได้รับแรงหนุนจากทั้งปัจจัยบวกทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ 1. การคลึ่คลายของวิกฤติพลังงานในยุโรป 2. การผ่อนคลายมาตรการโควิดของจีน และ 3. การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ตลาดเริ่มมองว่า Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ โดยสามปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยบรรเทาความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้
นอกจากนั้น ตลาดหุ้นยังได้แรงหนุนจากสภาพคล่องซึ่งกลับมาเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากสองช่องทาง ได้แก่ 1. การแทรกแซงในตลาดพันธบัตรของธนาคารกลางญี่ปุ่น เพื่อควบคุมBond yield ไม่ให้พุ่งขึ้นเกินเป้าหมาย และ 2. การชนเพดานหนี้ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถออกขายพันธบัตรเพิ่มเติมเพื่อกู้เงินจากประชาชนได้ โดยการที่รัฐบาลออกพันธบัตรเพื่อกู้เงินจากประชาชนนั้นนับเป็นการดูดสภาพคล่องออกจากระบบ ดังนั้นการหยุดขายพันธบัตรชั่วคราวในช่วงที่หนี้ชนเพดาน ในขณะที่รัฐบาลใช้จ่ายโดยใช้เงินจากบัญชีเงินสำรอง จึงส่งผลให้สภาพ