รมว.คลัง เผยมหกรรมแก้หนี้ ปิดฉากลงช่วยลูกหนี้ได้ 5 หมื่นราย ยอดหนี้1.2 ล้านบาทพร้อมสั่งแบงก์รัฐ-แบงก์พารณิชน์ เดินหน้าช่วยเหลือลูกหนี้ตกค่างอีกว่า 3 แสนราย เน้นช่วยลดภาระจ่ายหนี้ต่องวด และยืดกนี้ ให้สอดรับกับความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ตาอลมหายใจลูกหนี้หื้นตัว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า แม้โครงการมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ที่ดำเนินการมาในปี2565 ได้ปิดตัวลงแล้ว แต่การช่วยเหลือลูกหนี้แก้ไขปัฆยาหนี้สินยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีลูกหนี้อีกกจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงการปรับปรุงงโครงสร้างหนี้ ซึ่งยังจำเป็นต้องช่วยเหลือลดภาระจ่ายหนี้ลง นอกจากการขยายเวลาชำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละสัญญาและแต่ละรายอย่างแท้จริง โดยได้ให้นโยบายสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือแบงก์รับ ดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องและขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประสานกีบธนาคารพาณิชย์ดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้เช่นเดียวกัน
"แม้ว่าการจัดงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” จะจบลงแล้ว แต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ประชาชนยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยลูกหนี้ที่ประสบปัญหาหนี้สินสามารถติดต่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ที่สาขาของสถาบันการเงินทุกแห่งทั่วประเทศ หรือเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการทางด่วนแก้หนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน หรือ โครงการคลินิกแก้หนี้ ได้ตลอดเวลา" รมว.คลัง กล่าว
ส่วนดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นนั้น ได้ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นและเงินงวดที่ต้องจ่าย สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ด้วย สินเชื่อใหใาก็ขึ้นกับพิจารณาความสามารถชำระหนี้และกำหนดระะยะเวลายาวนานที่สุด
สำหรังผลการจัดงานมหกรรมแก้หนี้ ทั้งรูปแบบออนไลน์ และการจัดสัญจร 5 ภาค เมื่อปีที่แล้ว จำนวนผู้ลงทะเบียนเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 440,000 รายการ ส่วนใหญ่เป็นหนี้เกี่ยวกับบัตรกดเงินสด บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล แบ่งเป็น กลุ่มลูกหนี้ที่แก้ไขได้ 50,000 รายการ ยอดรวม 12,000 ล้านบาท
กลุ่มลูกหนี้ที่ลงทะเบียนไว้แต่ติดต่อไม่ได้จำนวน 100,000 รายการ กลุ่มลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 150,000 รายการ
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท.จะติดตามการแก้ไขหนี้ของผู้ลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์กับแบงก์พาณิชย์อย่างใกล้ชิด หากรายใดเจรจาไม่ได้ ธปท.จะเข้าไปช่วยเจรจาให้ด้วย ซึ่ง ธปท.ได้จัดช่องทางเสริมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1 ช่องทางทางด่วนแก้หนี้ สำหรับประชาชนที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้แต่ติดต่อเจ้าหนี้ไม่ได้หรือติดต่อแล้วแต่ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขกันได้
2 หมอหนี้เพื่อประชาชน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างครบวงจรทั้งลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบธุรกิจ SMEs
3 คลินิกแก้หนี้ เป็นช่องทางปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียจากบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ไม่มีหลักประกัน
นายรณดล กล่าวว่า ในเดือน ก.พ. นี้ธปท.จะเผยแพร่เอกสารทิศทาง (Directional Paper) สำหรับสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน รวมทั้งช่วยให้ทุกภาคส่วนเห็นทิศทางการดำเนินงานในระยะต่อไปและแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งเอกสารนี้ประกอบด้วยแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ที่มีอยู่เดิม และการปล่อยหนี้ใหม่ให้มีคุณภาพให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการวางรากฐานที่จำเป็นอื่น ๆเช่น การพัฒนาฐานข้อมูลให้มีข้อมูลหลากหลาย สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงของลูกหนี้ การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงิน เป็นต้น
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ในฐานะประธานสมาคมแบงก์รัฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมา แบงก์รัฐเองได้มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยกู้ไว้ให้นานที่สุดแล้วเพื่อดูแลลูกหนี้ ตลอดปีที่แล้ว และเพิ่งมีการปรับดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งแรกในต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาด
นอกจากนี้ แบงก์รัฐได้จัดกลุ่มลูกหนี้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกหนี้ปกติ จะเข้าไปบริหารจัดการให้การชำระหนี้ต่องวดลดลง แต่ระยะเวลาของหนี้ยาวขึ้น กลุ่มลูกหนี้ทร่เป็นหนี้เสีย ได้เข้าไปช่วยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และกลุ่มที่เป็นลูกหนี้ใหม่ จะเข้าไปดูความสามารถในการชำระหนี้
นายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผลการจัดงานมหกรรมแก้ไขหนี้รูปแบบสัญจร จำนวน 5 ครั้ง ในกรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลาว่า มีประชาชนและผู้ประกอบการขอรับบริการภายในงานเป็นจำนวนมากกว่า 34,000 รายการ คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 24,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการขอรับคำปรึกษาด้านการเงินและแนวทางในการประกอบอาชีพ จำนวนมากที่สุด 13,000 รายการ รองลงมา คือ การขอแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิมมากกว่า 10,000 รายการ คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 10,000 ล้านบาท การขอสินเชื่อเพิ่มเติมมากกว่า 4,000 รายการ คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 8 ,000 ล้านบาท และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เงินฝาก การตรวจข้อมูลเครดิตโดย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นต้น
ส่วนผลการจัดงานมหกรรมฯ รูปแบบออนไลน์ มีผู้ลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ทั้งสิ้นมากกว่า 188,000 ราย คิดเป็นจำนวนรายการสะสมมากกว่า 413,000 รายการ ประกอบด้วย ลูกหนี้ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 35% ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31% และภาคอื่น ๆ 34% ของลูกหนี้ที่ลงทะเบียนทั้งหมด และประเภทสินเชื่อที่มีการลงทะเบียนสูงสุด คือ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 75% สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 6% สินเชื่อรายย่อยอื่น 5% สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 4%และสินเชื่อประเภทอื่นๆ10%