ผู้ว่า ธปท. พร้อมตอบทุกคำถามนายกฯ เศรษฐา วันจันทร์นี้ ย้ำชัดดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่ระบุ จบรอบดบ.ขาขึ้น ขึ้นกับภาพ ศก. ข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงมีนับสำคัญจากที่มองไว้เพียงใด ขอเน้นรักษาเสถึยรภาพเงินเฟ้อ-ศก. พร้อมแจงไม่ได้สกัดเงินไหลออแ ชี้เงินบาทอ่อนจาก ดอลลาร์แข็งเป็นปัจจัยหลักของโลก
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ต.ค. นี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นัดหารือกับตน แต่ ยังไม่ทราบว่าจะเป็นเรื่องอะไร ซึ่งตนก็พร้อมที่จะตอบหมด
"ท่านนายกฯ นัดไปเจอวันจันทร์ ยังไม่ทราบว่าจะเป็นเรื่องอะไร ถ้าไปคงรู้ ถามอะไร ก็พร้อมที่จะตอบ” ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าว
สำหรับกนง. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25% อยู่ที่ระดับ 2.5% เมื่อวันที่27 ก.ย.ที่ผ่านมา ผู้ว่า ธปท.. กล่าวว่า คงจะอยู่ในระดับนี้ไปอีกสักพัก โดยระดับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือว่า มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในข่วงที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำมานานมาก ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและสร้างพฤติกรรม Search for yield (แสวงหาผลตอบแทนสูง) ส่วนในระยะข้างหน้า หากกนง. มีมุมมองต่อเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากมุมมอง ณ ปัจจุบัน ทางกนง.ก็พร้อมที่จะพิจารณาดำเนินการนโยบายการเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้า outlook ออกมาสอดคล้อง ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่กนง. มองไว้ดอกเบี้ยก็คงอยู่ในระดับนี้ไปอีกสักพัก
ผู้ว่า ธปท. อธิบายอีกว่า การตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งล่าสุด กนง.ให้น้ำหนักต่อมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า กรือเน้นดู Outlook dependent มากกว่าการดูData dependent ซึ่งเป็นการดูข้อมูลย้อนหลัง ที่ยังมีเรื่องของความล่าช้า (lag) เกี่ยวกับผลของการส่งผ่านสู่ระบบ พร้อมกับเปรียบเหมือนการขับรถ กำลังถอนคันเร่ง ที่ต้องมองทางข้างหน้าเป็นสำคัญ มัวมองแต่กระจกส่องข้างหลังอย่างเดียว คือดูแต่ข้อมูลที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ พร้อมกับออกตัวว่าไม่สามารถตอบได้ตรงๆว่า จบรอบการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือยัง เพราะการส่งสัญญาณของ ธปท. ไม่ต้องการสร้างความไม่แน่นอนให้ตลาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยจบรอบหรือไม่ เพราะจะยิ่งเพิ่มความผันผวนให้กับตลาดการเงินสับสนได้ ทั้งๆที่ปัจจุบันสถานการณ์รอบด้านของโลก) ก็มีความไม่แน่นอนสูงอยู่งแล้ว
"ในการทำนโยบายการเงิน กนง. จะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ในระยะยาวด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะข้อมูลรายวันหรือข้อมูลระยะสั้นที่มักจะมีความผันผวนอยู่ตลอด เราจะดู outlook ในระยะยาว มากกว่า เพราะธปท.ไม่ต้องการจะเป็นแหล่งที่สร้างความผันผวนให้เพิ่มมากขึ้นในตลาดการเงิน เพราะปัจจุบันความผันผวนในตลาดก็มีมากพออยู่แล้ว ซึ่งแนวโน้มข้างหน้ามองว่ามีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อระยะยาวจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินใจทำนโยบายการเงินจากแค่ข้อมูลเฉพาะหน้าที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น"
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่ ธปท.ยังกังวล โดยในระยะข้างหน้ายังต้องติดตาม คือ ปัญหาเอลนีโญ หากก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรง กระทบตาอราคาอาหาร ก็จะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เพราะตะกร้าเงินเฟ้อมีสัดส่วนสินค้ากลุ่มอาหารอยู่มาก และราคาน้ำมันโลกที่ยังมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตต่างๆ ให้สูงขึ้นตาม นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย
"ถ้า outlook ข้างหน้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยจากที่เราคาดไว้ กนง.ก็พร้อมจะ take action แต่ถ้า outlook ออกมาสอดคล้อง ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่เรามองไว้ ดอกเบี้ยก็คงอยู่ในระดับนี้ไปอีกสักพัก " ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ผู้ว่า ธปท. กล่าวถึง สถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าในขณะนี้ ว่า มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก เนื่องจากค่าเงินของสหรัฐ "ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า" ส่วนการที่เงินบาทผันผวนมากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ืเพราะค่าเงินบาทมีความเชื่อมโยงกับค่าเงินหยวนและเศรษฐกิจจีนค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยวและการส่งออกและยังมีเรื่องของทองคำที่ประเทศไทยขายออกเยอะด้วย และยืนยันว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุด ไม่ใช่ทำเพื่อสะกัดเงินไหลออก ทำทำให้เงินบาทอ่อนค่าเพราะเป้าหมายหลักของการดำเนินนโยบายการเงิน คือดูแลเสถียรภาพของเงินเฟ้อและเศรษบกิจ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน จะได้รับผลทางอ้อมด้วย