ทำความรู้จักหุ้นน้องใหม่ IPO “ฟู้ดโมเม้นท์ หรือ FM”
Premium Food Producer ความแตกต่างในสมรภูมิธุรกิจไก่
ปักธงพร้อมเดินหน้าเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 25 กรกฎาคม นี้ สำหรับ บมจ.ฟู้ดโมเม้นท์ หรือ FM หลังประสบความสำเร็จในการขายหุ้น IPO จำนวน 376 ล้านหุ้น จนหมดเกลี้ยง พร้อมกับการโชว์จุดขายเป็นหุ้นนวัตกรรมอาหารตัวจริง หนึ่งในผู้นำอาหารแปรรูปปรุงสุกจากเนื้อไก่ (CAV Products) ความน่าสนใจของหุ้นตัวนี้ คืออะไร และแตกต่างอย่างไรจากหุ้นที่ทำธุรกิจไก่อื่นๆ อย่างไร Clubhoon มีโอกาสได้สอบถามเรื่องนี้จาก “คุณณัฐพล ดุษฎีโหนด” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FM
ธุรกิจของ FM ประกอบด้วยอะไรบ้าง
FM เป็น Holding Company ที่มีการลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย
ความแตกต่างของ FM กับบริษัทอื่นในธุรกิจเดียวกัน
ในห่วงโซ่ของการผลิตไก่ จะประกอบด้วยธุรกิจ 3 ด้าน ได้แก่ Feed, Farm, Food ซึ่งธุรกิจของเรามองตัวเองว่า เป็น Premium Food Producer เน้นที่ธุรกิจ Food ไม่ได้ทำธุรกิจ Feed หรือ Farm โดยมุ่งไปตรงที่ปลายน้ำ เน้นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยการทำให้เป็นอาหารแบบ Ready to Eat โดยมีลูกค้า กลุ่ม Premium Global Brand ของโลก ที่มีการพัฒนาสินค้าร่วมกัน โดยมีการใส่เทคโนโลยีลงไปเพื่อเพิ่มมูลค่า ทำให้สินค้าเรามีความแตกต่างและปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สัดส่วนรายได้ก็เป็น ไก่แปรรูปปรุงสุก 38% ของรายได้ทั้งหมด อีก 62% มาจากไก่ปรับแต่ง หรือเนื้อไก่สด ซึ่งการให้น้ำหนักกับการทำธุรกิจไก่แปรรูปปรุงสุกทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า สัดส่วนรายได้ของเรามีความผันผวนน้อยกว่าผู้ประกอบการไก่รายอื่น เนื่องจากธุรกิจ Feed และ Farm จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกมากกว่า นอกจากนี้ ไก่แปรรูปปรุงสุก ยังเป็นสินค้าที่มี High Margin โดยราคาเฉลี่ยของไก่แปรรูปมีราคาสูงกว่าไก่สด ประมาณ 3 เท่า
การที่เราโฟกัสที่ Food อย่างเดียว มันมีข้อดีหลายๆ อย่าง
ตลาดหลักของ FM เป็นอย่างไร
ในปัจจุบันหากพูดถึงกลุ่ม FM ยอดขายที่เป็นการส่งออกมี 53% ในประเทศ 47% โดยส่งออกไปยัง 10 ประเทศทั่วโลก โดยมีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ ญี่ปุ่น ประเทศในกลุ่ม EU จีน มาเลเซีย และอื่นๆ โดยมีแผนที่จะมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปส่งออก พร้อมตั้งเพิ่มสัดส่วนการตลาดในต่างประเทศเป็น 65% และในประเทศ 35% ภายใน 3 ปี
“ลูกค้าที่เราโฟกัสเป็นตลาดไก่แปรรูปปรุงสุกที่เป็น Premium Global Brand เช่น ญี่ปุ่น ที่จะเป็นคอนวีเนี่ยนสโตร์ที่เป็น Top 3- Top 5 ที่มีมากกว่า 2 หมื่นสาขา ขณะที่ฝั่งยุโรป จะเป็นรีเทลสโตร์ขนาดใหญ่ ที่ให้เราพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของเขา ซึ่งลูกค้าเหล่านี้เขามีมาตรฐานในคัดสรร Supplier โดยดูจากคุณภาพของสินค้า รวมถึงภาพรวมในการเลี้ยงดูไก่ในขั้นตอนต่างๆ ควบคุมมาตรฐานและยา มีการเข้ามาดู Process ที่โรงาน ว่า มีการดูแลพนักงานอย่างไร รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะต้องทำให้ได้ตามมาตรฐาน เขาจึงจะมาทำธุรกิจกับเรา” นายณัฐพล กล่าว
ซึ่งในส่วนของ FM กว่าจะได้ลูกค้ากลุ่มนี้มา แต่ละเจ้าต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี ในการเริ่มเปิดธุรกิจกัน เพราะฉะนั้นการจะเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ของคู่แข่งรายใหม่จึงทำได้ยาก เพราะต้องใช้เวลา ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของเรา เพราะลูกค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงไปไหน
ภาพรวมการแข่งขันของตลาดไก่พรีเมียม
ภาพรวมของไก่แปรรูปปรุงสุกของประเทศไทย ปีหนึ่งส่งออกประมาณ 5.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าตลาด 9.3 หมื่นกว่าล้านบาท มีอัตราการเติบโต 7% ต่อปี แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ไทยเราเป็นอันดับ 1 ของโลกของการส่งออกไก่แปรรูปปรุงสุกมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 28% ทิ้งห่างคู่แข่งอย่างจีน หรือยุโรป
ทำให้มองได้ว่า ประเทศไทยยังมีศักยภาพอีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคจากญี่ปุ่น และยุโรป มองไก่แปรรูปจากไทย เป็นสินค้าพรีเมี่ยม สำหรับ FM เองปัจจุบันมีสัดส่วนการส่งออกไก่แปรรูปภายในประเทศใน 10 อันดับแรก และมีแผนจะขยายสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นติดอันดับ 5 อันดับแรก ภายในเวลา 3 ปี
นอกจากนี้ เรายังโฟกัสไปยังตลาดใหม่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ UAE ที่เป็นผู้นำเข้าเนื้อไก่รายใหญ่ของโลก แต่เดิมด้วยข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ไก่ไทยเข้าไปใน UAE น้อยมากๆ เรียกว่า แทบจะศูนย์ แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ข้อจำกัดอันนี้ได้ถูกปลดล็อก ทำให้ปีนี้เราตั้งเป้าที่จะส่งออกไปตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ UAE คิดว่า ภายในไตรมาส 4 นี้
วัตถุประสงค์การเพิ่มทุน