KBank Private Banking และ Lombard Odier คาดเศรษฐกิจโลกจะชะลอลงแบบ Soft Landing แนะจัดพอร์ตลงทุนรับมือทิศทางดอกเบี้ยขาลง ชี้ความเสี่ยงยังไม่หมดไป ให้เน้นกระจายการลงทุน บริหารความเสี่ยงสินทรัพย์
KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier พันธมิตรทางธุรกิจไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Repositioning Portfolio To Embrace Rate Cuts” เพื่อวิเคราะห์และประเมินเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โดยคาดว่ามีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอลงแบบ Soft Landing และเศรษฐกิจจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) จึงประเมินว่าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ อย่างไรก็ดี ยังมีหลายความเสี่ยงที่กระทบตลาดทุนที่นักลงทุนต้องจับตา อย่าง อัตราดอกเบี้ยที่อาจจะสูงยาวนานต่อเนื่อง (Higher for Longer) ความขัดแย้งทั้งสงครามกายภาพและสงครามการค้า รวมถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงปลายปีที่อาจจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แนะให้แบ่งเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวโดยเน้นลงทุนแบบ Risk-based ที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลักทั่วโลกผ่านกองทุน ALL ROADS Series พร้อมกระจายลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และการลงทุนทางเลือก เพื่อสะสมความมั่งคั่งในระยะยาว
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปี 2567 ถือว่าเป็นปีที่ดีของการลงทุน ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องจากปี 2566 เห็นได้จากที่ผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างดัชนีหุ้นทั่วโลก (MSCI All Country World Index) ปรับเพิ่มขึ้น +11.5% เป็นผลมาจากที่เศรษฐกิจทั่วโลกที่ฟื้นตัวได้ดี จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ฟื้นตัวและเติบโตขึ้นในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มเทคโนโลยี สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ท้าทายตลาดลงทุนที่นักลงทุนต้องจับตาในอีกหลายประการ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ใครจะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ซึ่งจะกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองโลกอย่างมีนัยสำคัญ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสงครามที่ใช้อาวุธและกำลังคน หรือสงครามการค้าและเทคโนโลยี โดยธนาคารได้ร่วมมือกับลอมบาร์ด โอเดียร์ จัดงานสัมมนาเพื่อสรุปเหตุการณ์สำคัญและให้มุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคการลงทุน รวมทั้งตลาดการลงทุนทั่วโลกเป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอกลยุทธ์และให้คำแนะนำในการจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 เพื่อให้ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารเตรียมพร้อมรับมือ และสามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างความเติบโตและโอกาสในการต่อยอดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
มร.โฮมิน ลี Senior Asia Macro Strategist, Lombard Odier (Singapore) กล่าวว่า ลอมบาร์ด โอเดียร์ มีมุมมองเชิงบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 จึงประเมินว่าภาพรวมตลาดลงทุน โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นต่อได้ เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง นำโดยภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตชิปที่กำลังเป็นความต้องการจากทั่วโลก นอกจากนี้ แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ชะลอการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่คาดว่า FED มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้งภายในปีนี้ ประกอบกับตลาดแรงงานเริ่มลดความร้อนแรงลงบ้าง จากตัวเลขตำแหน่งงานว่าง (Job openings) ค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง และอัตราการว่างงานที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะไม่กระทบกับเงินเฟ้อ จนกระทบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ต้องจับตาสำหรับสหรัฐฯ ในครึ่งหลังของปีก็คือการเลือกตั้งซึ่งผลสำรวจพบว่ามีโอกาสที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ซึ่ง Trump 2.0 อาจจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งด้านตลาดแรงงาน เศรษฐกิจ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านยุโรป หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลดดอกเบี้ยไปแล้ว และคาดว่าจะลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก และจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในยุโรปกลับมาฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่จีนยังคงเผชิญความท้าทาย นอกจากประเด็นภาคอสังหาฯ แล้ว ยังมีความเสี่ยงจากนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ที่มีการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อาจมีการยกระดับสงครามการค้า โดยตั้งแต่ปี 2561 สัดส่วนการนำเข้าจากสินค้าจากจีนมาสหรัฐฯ ปรับลดลง อย่างมีนัยสำคัญ และเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติก็ปรับลดลงด้วย เหตุการณ์สำคัญที่ต้องจับตาคือ การประชุมของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่สาม (China’s Third Plenum) และการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง (China’s Politburo) ในเดือนกรกฎาคม โดยคาดว่าทางการจีนจะออกมาตรการหนุนภาคอสังหาฯ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตาต่อไป
นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director, Financial Advisory Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจโดยลอมบาร์ด โอเดียร์ พบว่ายังมีความท้าทายที่นักลงทุนต้องจับตาอยู่ เพราะสภาพเศรษฐกิจทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุน โดย KBank Private Banking ยังคงแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนเพื่อสะสมและต่อยอดความมั่งคั่งในระยะยาว ออกเป็น 2 ส่วน (1) พอร์ตหลัก (Core portfolio) คิดเป็นสัดส่วน 50-70% ให้ลงทุนโดยเลือกกองทุนผสมแบบ Risk-based approach ที่กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งค่าความผันผวน (VIX Index) ที่ใช้หลักการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ มีกฎเกณฑ์ชัดเจน ไม่ขึ้นกับการคาดการณ์ของตลาดหรือผู้จัดการกองทุน ด้วยกลยุทธ์หลักที่บริหารเชิงรุกและยืดหยุ่นสูง สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างสม่ำเสมอ และมีการควบคุมความเสี่ยงของพอร์ตตลอดเวลา โดยผ่านการลงทุนกองทุน All Roads Series (2) พอร์ตเสริม (Satellite portfolio) คิดเป็นสัดส่วน 30-50% โดยแบ่งการลงทุนใน
o หุ้นกลุ่ม Growth เช่น กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่มีศักยภาพในการเติบโตที่โดดเด่น แม้ว่าราคาจะปรับเพิ่มขึ้นมามากแล้ว แต่ก็หนุนโดยกำไรสุทธิที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ราคาหุ้นในปัจจุบันวัดจากปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) แล้ว ยังถือว่าราคาไม่แพง และยังมีโอกาสเติบโตได้อีก โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-USA กองทุนหุ้นยุโรปขนาดกลางและเล็ก ที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจากการลดดอกเบี้ยของ ECB โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-EUSMALL นอกจากนี้ยังแนะนำกองทุนหุ้นเวียดนาม ที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อีกทั้งระดับราคาหุ้นในปัจจุบันวัดจากปัจจัยพื้นฐาน (Valuation) ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และในระยะยาวยังได้ประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในเวียดนามด้วย โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน PRINCIPAL-VNEQ
o ตราสารหนี้ อย่าง พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (US Bond Yield) ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและมีโอกาสปรับลงในระยะข้างหน้า เมื่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ FED ชัดเจนขึ้น ทำให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยมีความน่าสนใจ และยังมีโอกาสได้กำไรจากส่วนต่างราคาเมื่อ FED ปรับลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี หากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-GDBOND และเสริมพอร์ตการลงทุนด้วยหุ้นกู้ในภูมิภาค
เอเชีย ผ่านกองทุน K-APB ที่ให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเนื่องจากเศรษฐกิจในเอเชียยังแข็งแกร่ง
o การลงทุนทางเลือก เช่น กองทุนทางเลือกที่มีกลยุทธ์ซื้อขายสกุลเงินหลักของโลก ที่เน้นลงทุนในสกุลเงินหลัก ที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น ผ่านการวิเคราะห์จากหลายปัจจัยพื้นฐาน ทั้งแนวโน้มภาพรวมเศรษฐกิจ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อดุลการชาระเงิน รวมทั้งกระแสเงินไหลเข้า – ออก โดยแนะนำให้ลงทุนในกองทุน DAOL-FXALPHA-UI
ในสภาวะปัจจุบัน ตลาดลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายหลายเรื่อง แต่ KBank Private Banking มองว่าปี 2567 ยังเป็นปีที่ดีของการลงทุน จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปีตลาดหุ้นในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เวียดนาม ทยอยและสลับกันทำจุดสูงสุด ในขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ อย่าง ทองคำ และ น้ำมัน ก็สร้างกำไรได้ ในด้านตลาดตราสารหนี้ แม้ราคาจะยังต่ำอยู่ แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในรูปแบบของดอกเบี้ยยังทำได้ดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ธนาคารยังคงแนะนำให้นักลงทุนให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผันผวนให้พอร์ต เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอและสะสมความมั่งคั่งในระยะยาว”
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมงานสัมมนา Repositioning Portfolio To Embrace Rate Cuts ได้ที่ KBank Private Banking Youtube Channel หรือ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3NrNbw9