Economies

คลัง ดัน    “พ.ร.บ. สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA)” เข้าครม. มี.ค. นี้ หวังช่วยเอสเอ็มอีกู้ง่ายขึ้น ลุ้นเปิดบริการปี 69
4 มี.ค. 2568

“เผ่าภูมิ” เปิดตัว “พ.ร.บ. สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA)”  ยกเครื่องกลไกปล่อยสินเชื่อกลุ่มประชาชน-เอสเอ็มอีที่เสี่ยงสูง พร้อมคิดค่าฟีตามความเสี่ยงของผู้กู้ หากเป็นหนี้เสีย รัฐร่วมจ่ายคืนเจ้าหนี้ คาดชง เข้า ครม. มี.ค. นี้ ลุ้นผ่านสภาแล้ว  ใช้เวลา 1 ปี จัดตั้ง NaCGA  ที่ควบรวม  บสย. เข้ามาเป็นหน่วยงานเดียวกัน พร้อมเปิดบริการปีหน้า 

 

ดร. เผ่าภูมิ  โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและ ธปท. ได้ยกร่าง “พระราชบัญญัติสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ พ.ศ. ....” เพื่อก่อตั้ง “สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ หรือ National Credit Guarantee Agency (NaCGA)” ประกอบด้วย 8 หมวด 132 มาตรา ให้เป็นกลไกสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักของเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้ว ซึ่งพรบ. นี้ ได้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้ว เตรียมจะเสนอเข้า ครม. ในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสำนักงานคณะกรรมการกฤกษฎีกา และเข้าสภาต่อไป หลังจากนั้นจะเป้นกระบวนการจัดตั้ง NaCGA คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2568 นี้ 

 

ทั้งนี้ NaCGA  จะเป็นกลไกสำคัญยกเครื่องการปล่อยสินเชื่อไทย เพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสมกับความเสี่ยงรายบุคคล โดย NaCGA จะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จะทำหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงและค้ำประกันเครดิตให้ลูกหนี้ โดย NaCGA จะค้ำประกันครอบคลุมถึง Non-Bank และการออกหุ้นกู้ด้วย

 

“การจัดตั้ง NaCGA จะเป็นการควบรวมกับ บสย. (บรรษัทค้ำประกันสินเขื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) โดย บสย. จะเป็นแกนกลางในการควบรวมกับ NaCGA  ซึ่งบสย. จะมีเวลา 1 ปีในการดำเนินการโอนย้ายพนักงานหน่วยงานต่างๆ และถ่ายโอนบัญขีลูกค้า รวมถึงทรัพย์สินหนี้สิน ไปอยู่ที่  NaCGA  ส่วนทุนประเดิมจัดตั้งเท่าไหร่นั้น จะอยู่ที่การพิจารณาความเหมาะสมในตอนนั้น แต่ส่วนนึงก็จะมีทุนของบสย. ที่โอนย้ายมาที่   NaCGA ด้วย  บทบาทของ NaCGO จะทำหน้าที่เป็นผู้ที่เข้ามาค้ำประกันเครดิตให้กับประชาชนและเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงสูงและเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงเอสเอ็มอีที่เป็น กลุ่มลูกหนี้เสีย ก็สามารถเข้ามาให้ NaCGO ค้ำประกันเครดิตได้ สำหรับการค้ำประกันสินเขื่อให้ลูกค้า  ทาง NaCGO จะคิดค่าธรรมเนียมของยอดขอสินเชื่อ หากเป็นคนที่มีเครดิตความเสี่ยงสูง ก็จะคิดค่าธรรมเนียมที่สูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม  NaCGO ก็มีสิทธิปฏิเสธการค้ำประกันฯได้หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงมากๆ   ส่วนการคิดค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ใน พรบ. ฉบับนี้กำหนดไว้ที่ 0.3%ของยอดขอสินเชื่อ แต่ในช่วงแรกที่เปิดให้บริการ จะคิดในอัตราที่ต่ำกว่านี้  หากกรณีลูกค้าของ NaCGO ไม่สามารถจ่ายหนี้ จะมี 3 ฝ่ายร่วมรับผิดชอบ โดยรัฐจะเข้ามาร่วมจ่ายหนี้ชดเชยให้ด้วยการใช้งบประมาณ สำหรับฝั่งธนาคารพาณิชน์ที่ปล่อนสินเชื่อให้กลู่มลูกค้า  NaCGO ก็จะถูกจัดชั้นลูกหนี้และการตั้งสำรองหนี้เหมือนลูกหนี้ทั่วไป เพราะรัฐบาลเข้ามาร่วมจ่ายชดเชยหนี้ให้อยู่แล้ว“

 

ทั้งนี้ กลไกการทำงานของ NaCGA

1. ผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อติดต่อ NaCGA เพื่อให้พิจารณาค้ำประกันเครดิตให้กับตนเอง ก่อนไปยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน 

2. NaCGA จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ประกอบการ ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงรายบุคคล การค้ำประกันตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Pricing) โดยใช้ฐานข้อมูลและแบบจำลองความเสี่ยงด้านเครดิตที่ NaCGA จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทางเลือก

3. NaCGA จะออก “ใบค้ำประกันเครดิต” ให้กับผู้ขอสินเชื่อ โดยผู้ขอสินเชื่อจ่ายค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยตามความเสี่ยง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสถาบันการเงินที่ร่วมจ่าย

4. ผู้ขอสินเชื่อนำใบค้ำประกันเครดิตที่ได้ไปยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

5. สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ขอสินเชื่อ เนื่องจากผู้ขอสินเชื่อมี NaCGA เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตแทนบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว

6. หากผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ NaCGA จะเป็นผู้รับความเสี่ยงกับสถาบันการเงินตามเงื่อนไข

 

สำกรับฐานข้อมูลของ NaCGA เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาค้ำประกันการขอสินเขื่อ นั้น  ในพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดให้ ธปท. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมที่ดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม นำส่งข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนเพื่อจัดทำแบบจำลองเครดิต (Credit Risk Model) ให้ NaCGA

 

แหล่งทุนของ NaCGA

(1) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (2) ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากผู้ประกอบการ (2) เงินสมทบจากธนาคารเป็นรายปี คิดเป็นสัดส่วนตามสินเชื่อธุรกิจ และ (4) เงินสมทบจาก Non-Bank ที่เลือกใช้บริการ NaCGA 

 

การบริหารจัดการ

บริหารด้วยระบบคณะกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ (1) คณะกรรมการกำกับนโยบาย มี รมว.คลัง เป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของ NaCGA และ (2) คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ด้านบัญชี ด้านกฎหมาย ด้านเทคโนโลยี ด้านสถิติ ด้านธุรกิจ SMEs และด้านตลาดทุน มีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของ NaCGA 

 

” การจัดตั้ง NaCGA จะไม่ได้เป็นเพียงการยกระดับกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐ แต่ยังจะเป็นการสร้างระบบนิเวศใหม่สำหรับการระดมทุนของภาคธุรกิจไทย“

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com