Economies

คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรฯ MOA ส.การค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน เปิดตัวสถาบันวิจัยบพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ
9 ก.ย. 2566

สมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน เปิดตัวสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ จากยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt Road Initiative) เพื่อแสวงหาโอกาสและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ผ่านเครือข่ายสถาบัน การศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ประเทศจีน และประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านงานวิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา ด้วยเป้าหมายร่วมกัน  

 

9 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เปิดตัวสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ (BRI Institute of Research Development on Economic and Education : BRIIRDEE) และพิธีลงนามความร่วมมือกับสาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Kasetsart Entrepreneurship Education Program : KEEP) ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

 ดร.ธารากร วุฒิสถิรกุล นายกสมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน และประธานสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ (BRI Institute of Research Development on Economic and Education : BRIIRDEE) กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งสมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน เพื่อเชื่อมโยงโอกาสธุรกิจการค้าการลงทุน ส่งสริมศักยภาพและพัฒนาความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการไทยกับประเทศจีนและประเทศอื่นๆ บนเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม 

สมาคมฯ จึงจัดตั้ง“สถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ” (BRI Institute of Research Development on Economic and Education : BRIIRDEE) โดยตั้งเป้าหมายให้เป็นองค์กรสร้างความร่วมมือวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาระหว่างประเทศ จากยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt Road Initiative) เพื่อแสวงหาโอกาสและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ผ่านเครือข่ายสถาบัน การศึกษาและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ประเทศจีน และประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านงานวิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา ด้วยเป้าหมายร่วมกัน”

 

“เครือข่ายเริ่มต้นของสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ เป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค ที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านแตกต่างกัน และมหาวิทยาลัยที่ประเทศจีน จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยปักกิ่งเหรินหมิน มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์ ซีอัน มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยการเงินและเศรษฐศาสตร์ยูนนาน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เซียะเหมิน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยในไทยแห่งแรกที่ร่วมมือกับสถาบันฯ คือ สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Kasetsart Entrepreneurship Education Program : KEEP) ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ โดยชอบเขตความร่วมมือ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร การสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนิสิต/นักศึกษาและครูคณาจารย์ การสร้างโครงสร้างสนับสนุนการค้าการลงทุน การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี และการสร้างโครงสร้างที่เป็นกลาง”ร.ธารากร กล่าวเพิ่มเติม

 

รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ประธานสาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Kasetsart Entrepreneurship Education Program : KEEP) Entrepreneurship Education) กล่าวถึงสาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการว่า “เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจการจัดการการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม นวัตกรรมเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม”

 

รศ.ดร.เมธินีกล่าวเพิ่มเติมว่า “ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ เป็นความร่วมมือพัฒนาผู้ประกอบการด้านการศึกษาและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของหลักสูตร โดยร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน และสร้างสรรค์งานวิจัยและงานบริการวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ตามยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt Road Initiative)”

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com