Economies

เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวท แบงค์กิ้ง ชู 4 ธีมการลฃทุนในเอเซีย คว้าโอกาสทำผลตอบแทนเติบโต  เพิ่มน้ำหนัก 3 ตลาดหุ้นเด่น
21 ม.ค. 2568

เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวท แบงค์กิ้ง มองตอนนี้เงินต่างชาติจอดอยู่ในสหรัฐ ชี้หลังทรัมป์ประกาศนโยบายต่างๆชัดเจน เงินต่างชาติพร้อมไหลออกหาตลาดเด่น  แนะนำ 4 ธีมการลงทุนในเอเชียที่น่าสนใจที่สุดเพื่อคว้าโอกาสการเติบโตและผลตอบแทนในเอเชีย ชูกระจายลงทุน ’ หุ้น-บอนด์-ทอง-หุ้นนอกตลาด' ระบุเพิ่มน้ำหนักหุ้นอินเดีย-ญี่ปุ่น-สิงคโปร์ ส่วนหุ้นไทย ต้องจับตาอย่างระมัดระวัง พร้อม underweight  เผยต้องรอสัญญาณกลับตัวมีลุ้นพุ่งแรง

 

มร. เจมส์ เชียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ อินเดีย (Chief Investment Officer, Southeast Asia and India) ของเอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวท แบงค์ กิ่ง คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน-6 (ASEAN-6) จะมีการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งถึง 4.8% ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 4.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนใน ระดับสูง โดยประมาณ 60% ของ GDP ของอาเซียนมาจากการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจาก การเติบโตของการส่งออกที่อ่อนแอในท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านการค้าในปี พ.ศ. 2568

 

“ประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งออกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI ในอาเซียนจะได้รับประโยชน์จากการเติบโต ของ global tech upcycle โดยเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนยังคงได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างการค้า และห่วงโซ่อุปทานที่รับเคลื่อนด้วยการจำกัดการค้าของสหรัฐฯ และมาตรการกีดกันทางการค้าต่อจีน” มร.เจมส์

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติในปีนี้  ขณะนี้เงินต่างชาติยังคงอยู่ในตลาดสหรัฐ เพราะดูความชัดเจนของนโยบายต่างๆของประธานาธิบดี ‘โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาก่อน ถ้ามีความชัดเจนจึงจะเห็นเงินต่างชาติไหลเวียนมากขึ้น

 

การจัดพอร์ตลงทุนในปีนี้ แนะนำกระจายลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก ( Alternative) ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ และ private equity privare credit  ในส่วนของตชาดหุ้นโลก ยังมองตลาดหุ้นสหรัฐเป็นกลาง และให้น้ำหนักลงทุนเพิ่ม (overweight) ตลาดเอเซีย นำโดย อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ส่วนตลาดเกิดใหม่ แนะนำจีน ฮ่องกง ไทยยัง under weight ส่วนเวียดนาม เศรษฐกิจเติบโตได้ดีแต่ยังมีความเสี่ยงอยู่ 


มุมมองเศรษฐกิจไทยและตลาดหุ้น

มร.เจมส์ ให้มุมมองเศรษฐกิจในประเทศไทย ว่า ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคที่คาดว่าจะเห็นการเติบโต้เพิ่มขึ้นใน ปี พ.ศ. 2568 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการคลังที่แข็งแกร่งและการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.3% ในปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ มาตรการการคลังของรัฐบาลยังช่วยส่งเสริมการใช้จ่าย ของผู้บริโภคซึ่งยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากตลาดแรงงานที่มั่นคง นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของไทยก็กำลังฟื้นตัว โดยผู้ส่งออกเร่งการส่งมอบสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากภาษีนำเข้า ภาคการท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่ง ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากมุมมองเชิงกลยุทธ์ของเอเชียในด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน ทำให้เราลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยเล็กน้อย เนื่องจากเราเห็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจกว่าในตลาดเอเชีย อื่น ๆ สำหรับด้านอัตราแลกเปลี่ยน คาดว่า ดอลลาร์สหรัฐต่อบาทไทย (USD-THB) จะมีความผันผวนเนื่องจาก ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า โดยคาดการณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง USD-THB จะสิ้นสุดปีที่อัตรา 36.0

 

“เราคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งสะท้อนถึง ความตั้งใจในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน อย่า นโยบายการคลังจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต เนื่องจากธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะไม่ผ่อน คลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง” มร.เจมส์ กล่าว

 

ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมี Valuation ต่ำ และมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS Growth) โดยปีนี้คาดโต 8% แต่ยังต้องความต่อเนื่องนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  ซึ่งตลาดหุ้นไทยหากมีตัวเร่งมากกว่านี้ จะเป็นสัญญาณกลับหัวก็จะขึ้นแรงเป็นตลาดกระทิงได้ แต่ตอนนี้ยังต้องจับตามองอย่างระมัดระวัง และให้น้ำหนัก under weight เมื่อเทียบกับตลาดเอเซียด้วยกัน”

 

แนวโน้มการลงทุนในเอเชียในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2568 บริษัทในเอเชียที่เป็นผู้นำธุรกิจของประเทศ

“เราให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีคุณภาพสูงในเอเชียที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและมีการพึ่งพาตลาด สหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย โดยพบโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในจีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น ที่ก้าวข้ามขีดการลงทุน จากบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาดในประเทศด้วยความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งในฐานะผู้นำและการ เติบโตของรายได้ที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม” มร.เจมส์ กล่าว

 

“สำหรับญี่ปุ่น แนวโน้มเงินเฟ้อคงที่และการปรับขึ้นค่าแรงเป็นแรงหนุนการเติบโตของบริษัทที่เน้นการ บริโภคในประเทศ โดยความยืดหยุ่นของบริษัทที่เป็นผู้นำในประเทศในอาเซียนเหล่านี้เป็นเสมือนที่หลบ ภัยในการลงทุนเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า โดยคาดว่าบริษัทเหล่านี้จะมีผลการ ดำเนินธุรกิจดีกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกและมีสหรัฐฯ เป็นตลาดหลัก” มร.เจมส์ กล่าวเสริม

 

ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของบริษัทในเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้น

“เรามองหาผลตอบแทนจากหุ้นที่ยืดหยุ่นและป้องกันความเสี่ยงได้ ด้วยการลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเพิ่มผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นผ่านการจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือการซื้อหุ้นคืน โดยคาดการณ์ว่า

 

ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นในเอเชีย (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นถึง 12% ในปี พ.ศ. 2568 โดยการซื้อ หุ้นคืนในเอเชียกำลังเติบโตในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น จีนแผ่นดินใหญ่ และ ฮ่องกง” มร.เจมส์ กล่าว

 

“การเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งคาดว่าจะนำไปสู่การเติบโตของเงินปันผลกว่า 7% ในเอเชีย (ไม่รวม ประเทศญี่ปุ่น) และ 9% ในญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2568 โดยได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าในด้านธรรมาภิ บาลองค์กรในญี่ปุ่น จีน และเกาหลีได้ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลในสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ 4.2% รวมถึงในฮ่องกงและมาเลเซียที่ 3.9% ยังคงน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1.8%” มร.เจมส์ กล่าว

 

• การเติบโตของอินเดียและอาเซียน (ASEAN)

“เราพบโอกาสที่น่าสนใจในอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งขับเคลื่อนโดย การบริโภคภายในประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ ชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น และความเจริญทางเทคโนโลยี โดยเรามุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาดบริโภคภายในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ การปรับลดราคาหุ้นอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ถือเป็นโอกาสที่ ดีในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดนี้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากการเติบโตของ กำไรที่คาดว่าจะอยู่ที่ 16% ในปี พ.ศ. 2568 อัตราผลตอบแทนต่อทุนที่สูง และการไหลเข้าของเงินทุน จากนักลงทุนภายในประเทศ โปรไฟล์การเติบโตที่ขับเคลื่อนโดยตลาดภายในของอินเดียทำให้ประเทศนี้ มีความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงด้านการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ สำหรับอาเซียน เราให้ความสำคัญ กับหุ้นสิงคโปร์ เนื่องจากประเทศนี้มีการขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้การลงทุนในหุ้น สิงคโปร์เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีเมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านภาษีในภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อ ได้รับการสนับสนุนจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ” มร.เจมส์ กล่าว

 

• ตราสารหนี้เอเชียที่มีคุณภาพสูง

“การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2568 จะเปิดโอกาสให้ธนาคาร กลางในเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตราสารหนี้คุณภาพในภูมิภาคนี้ เราจึง มุ่งเน้นไปที่ตราสารหนี้ของภาคธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือเหมาะกับการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากภูมิภาคเอเชีย, ตราสารหนี้จากกลุ่มสถาบันการเงินในเอเชีย, ตราสารหนี้ในสกุลเงินท้องถิ่นของอินเดีย และอินโดนีเซีย, USD quasi-sovereign investment grade bonds ที่เป็นตราสารหนี้คุณภาพสูงในสกุล เงินดอลลาร์ของอินโดนีเซีย และตราสารหนี้จากกลุ่มธุรกิจคาสิโนในมาเก๊า รวมถึงตราสารหนี้ที่ออกโดย บริษัทจีนที่ทำธุริจในกลุ่ม Technology, Media and Telecom (TMT)” มร.เจมส์ กล่าวเพิ่มเติม

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com