Economies

โบนัสโค้งท้ายคนทำงาน เช็คสิทธิ! รับเงินเกษียณประกันสังคมกันหรือยัง
6 พ.ย 2564

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด - 19 ที่ยืดเยื้อและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้คนตกงานจำนวนมากจากมาตรการล็อกดาวน์ บางคนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดติดเชื้อโควิดต้องเข้าทำการรักษาตัวอีก  จึงส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมา ผู้คนต่างหันมาให้ความสำคัญของการได้รับสวัสดิการจากภาครัฐกันมากขึ้น โดยเฉพาะสวัสดิการหลักของคนวัยทำงาน คือ กองทุนประกันสังคม ที่เป็นที่พึ่งของคนตกงานอย่างมาก 

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ประกันสังคม เข้ามาดูแลสมาชิกกองทุนประกันสังคม อย่างมาก อาทิ โครงการเงินเยียวยา 3,000 บาท 3 เดือนเมื่อปีที่แล้ว สำหรับผู้ตกงานที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 6 เดือน  โครงการชดเชยผู้ถูกเลิกจ้างจาเกสถานการณ์โควิด จะได้รับเงินชดเชยจำนวนมากถึง 70%ของเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน จากปกติไม่เกิน 50%เท่านั้น เป็นระยะเวลา 6 เดือน และเมื่อต้นปีนี้ ยังมีมาตรา 33 เรารักกัน ดูแลผู้ประกันตนมาตรานี้โดยเฉพาะ เป็นต้น


อย่างน้อยในช่วงตกงานขาดรายได้รับ  ก็ยังพอมีรายได้รับส่วนหนึ่งจากกองทุนประกันสังคมเข้ามาเป็นเวลาช่วงสั้นๆ 3-6 เดือน ในช่วงระหว่างหางานใหม่ ขณะเดียวกันเงินสะสมเงินช่วงทำงานที่มีนายจ้างก็ยังคงอยู่ เป็นเงินออมของเราไปถึงวัยเกษียณ จึงจะได้รับเงินรายเดือนจากรัฐอีกด้วย


ปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือน คนทำงานอาชีพอิสระ หรือรับจ้างทั่วไป ก็สามารถเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมได้ทั้งนั้น  ตัวเลขล่าสุด สมาชิกประกันสังคมมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า  16.4 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในมาตรา 33 ที่มีนายจ้างจ่ายสมทบ กลุ่มนี้มีจำนวนกว่า 11.3 ล้านคน มาตรา 39 ที่คนตกงานยอมจ่ายฝ่ายเดียวจำนวน 1.7 ล้านคน และมาตรา 40 สำหรับผู้มีอาชีพอิสระจำนวนกว่า 3.5 ล้านคน  ซึ่งสมาชิกทั้ง 3 กลุ่มนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป ก่อนอื่นต้องรู


หากใครที่เป็นลูกจ้างอยู่ในกลุ่มมาตรา 33 แต่ละเดือนจะถูกหักเงินเดือน 5% ของเงินเดือน ทุกเดือน  และได้รับเงินสมทบจากฝ่ายนายจ้าง 5% เท่ากัน และส่วนของรัฐบาลจ่ายสมทบให้ 2.75% ซึ่งเป็นการสะสมเงินยาวตลอดช่วงเวลาทำงาน จนมีอายุครบ  55ปีบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงวัยเกษียณจากการทำงานแล้ว จึงจะสามารถได้รับเงินคืนกลับมาพร้อมผลตอบแทนก้อนเล็กๆ


อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม กำหนดเพดานเงินเดือนสำหรับการสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคม คือ  มีค่าจ้างเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท  


ในแต่ละเดือน เงินที่ลูกจ้างส่งสมทบเข้าประกันสังคม  จะถูกแบ่งส่วนสำหรับการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง  โดยเงินส่งเข้ากองทุนฯทุก  5%ของฐานเงินเดือน 15,000 บาท เท่ากับ 750 บาท   จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่


1    เงินส่วนแรก สำหรับประกันเจ็บป่วย พิการ ตาย คลอดบุตร(นับรวมกับของนายจ้างเท่ากับ 3%)


2    เงินส่วนที่สอง สำหรับประกันชราภาพ  หรือเงินเกษียณประกันสังคม ถือเป็นก้อนสำคัญจริงๆ

 

3    ส่วนที่สาม สำหรับประกันกรณีว่างงาน จะมีรายได้ให้เป็นเวลา 3-6 เดือน 

 

เพราะฉะนั้นเงินที่จ่ายทุกเดือน จึงถูกกันไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้มั่นใจว่า ยังมีสวัสดิการนี้คุ้มครองให้ระดับหนึ่ง เพราะจะมีเงินส่วนของรัฐบาลสมทบเข้ามาให้ 2.75% ดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือพิการ  ในกรณีช่วงระหว่างทำงานเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น เจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุไม่คาดฝัน ตกงาน เป็นต้น

 

และหลังจากทำงานจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เงินสะสมส่วนที่สอง จะเป็นก้อนที่สำคัญอีกก้อน ซึ่งเป็นเงินที่สะสมจากส่วนของเรา ที่แบ่งออกมาเป็นหลักประกันวัยชราภาพที่หัก  3% เท่ากับ 450 บาท แต่ละปีจะสะสมได้ราว 5,400 บาท (เพดานเงินเดือน 15,000 บาท) มาคำนวณรวมกับนายจ้างสมทบอีก 3% เพราะฉะนั้น จะมีเงินเกษียณประกันสังคมรวม 5,400 + 5,400 = 10,800 บาท และยังมีดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากประกันสังคมที่บริหารเงินให้อีกส่วนหนึ่งเพิ่มเข้ามาด้วย

 

เมื่อคุณทำงานเป็นระยะเวลา 10 -20 - 30 ปี จนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป  ถือว่าเข้าสู่วัยเกษียณ ก็จะได้รับ “เงินชราภาพ” คืนจากประกันสังคม  ที่สะสมมาจากรายได้น้ำพักน้ำแรงที่ทำงานมายาวนาน  

 

แต่การได้รับเงินหลังเกษียณก้อนนี้ จะมี 2 รูปแบบที่คืนให้สมาชิกประกันสังคมต่างกันด้วย 

 

แบบแรก เรียกว่า  “เงินบำเหน็จชราภาพ”  หรือรับเงินก้อนครั้งเดียว สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน(ไม่ครบ 15ปี) ซึ่งแบ่งเป็น  2 กรณี ได้กก่ กรณีแรก จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะเงินสมทบของตัวเอง(ผู้ประกันตน)เท่านั้น และกรณีที่สอง จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ครบ 180 เดือน  จะได้รับเงินสมทบที่สะสมทั้งส่วนของผู้ประกันตนและนายจ้าง นับรวมผลประโยชน์ตอบแทนหรือดอกเบี้ยนั่นเอง

 

แบบที่สอง “เงินบำนาญชราภาพ” สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (รวม 15ปี) ขึ้นไป จะได้รับเงินคืนเป็น “รายเดือน” ตลอดชีวิต!

 

ถือเป็นดอกผลจากการออมเงินที่สะสมมาจากตลอดชีวิตทำงานของเรา 

 

มาดูสูตรคำนวณเงินชราภาพที่จะได้รับแต่ละเดือน คือ ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย 20% บวกอีก 1.5% 

 

ยกตัวอย่าง คุณได้ค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท จ่ายสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับบำนาญเดือนละ 3,000 บาท และกรณีสมทบเกิน 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเพิ่มปีละ 1.5% หรือ  225 บาท บวกเข้าไปอีกทุกปี นี่คือ เงินเกษียณประกันสังคมที่จะได้รับในแต่ละเดือน 

 

นอกจากนี้ ยังมีอีกทางเลือกสำหรับคนที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ยังทำงานอยู่ ก็สามารถส่งเงินประกันสังคมต่อไปได้อีก 5 ปี โดยอายุไม่เกิน 60 ปี  จะยิ่งทำให้คุณมีเงินออมเพิ่มขึ้น  หลังจากคุณเลิกทำงานจริงๆ แล้ว  ก็สามารถทำเรื่องขอรับเงินชราภาพก้อนนี้คืนเช่นกัน

 

ที่สำคัญ “เงินหลังเกษียณ” ก้อนนี้ ยังมีมูลค่าเพิ่มด้วย หากผู้รับเงินชราภาพบำนาญ ได้เสียชีวิตภายใน  60 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพ  จะกลายเป็น “เงินบำเหน็จชราภาพ” มีจำนวนเพิ่มขึ้น 10 เท่าของเงินบาญชราภาพรายเดือน  เป็นเงินก้อนใหญ่ที่จะช่วยสร้างหลักประกันให้ครอบครัวผู้ที่อยู่ข้างหลังของคุณได้อุ่นใจ

 

เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นสมาชิกประกันสังคม  ยังมี “โบนัสโค้งสุดท้าย” ของวิถีคนทำงานรอคุณอยู่   อย่าลืมเช็คสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนเงินก้อนนี้กันด้วย อย่างน้อยแต่ละเดือนมีเงินติดมือไว้ใช้สอยชีวิตประจำวัน ถือเป็นรายรับเข้ามาอีกทางหนึ่ง

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com