Economies

ถอดรหัสผู้บริโภคยุุค COVID-19 การเงินวิกฤตการใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม
26 พ.ย 2564

EIC ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคไทยจำนวน 3,205 คน ในช่วงระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 27 กันยายน 2021 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วง COVID-19 และแนวโน้มหลังวิกฤตคลี่คลาย 


จากการสำรวจพบว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่่ เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้รายได้ของผู้บริโภคลดลงในวงกว้าง และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคาดการณ์ว่ารายได้ในอนาคตจะยังไม่กลับมาในระยะเวลาอันใกล้นี้


โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 48% รายได้ลดลงในช่วงโควิด และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กว่า 62% มองว่ารายได้ตนเองจะยังไม่เพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่ 23% มองว่ารายได้อาจจะลดลงอีก มีเพียง 39% ที่คิดว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิม


โดยในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีสัดส่วนผู้ที่มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด สูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเกิด 1 ใน 4 คาดว่ารายได้จะไม่มีทางกลับมาเท่าเดิม

 


รายได้ที่ลดลงของผู้บริโภค นำไปสู่การเผชิญปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ และปัญหาสภาพคล่องที่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย ซึ่งยิ่งตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทย


ซึ่งผู้ตอบคำถามถึง 63% ประสบปัญหารายได้ไม่พอไม่พอใช้ไม่มากก็น้อย โดย 24% มีปัญหาบ่อยครั้ง และ 39% มีปัญหาบางครั้ง 


และในช่วงโควิดเกินครึ่งของผู้ที่มีหนี้ จะมีปัญหาการชำระหนี้ และคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีรายได้ลดลงช่วงโควิด เกือบทุกคนที่มีปัญหาหนี้ จะมีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายตามมาด้วย

 

 

โดย 65%ของผู้ที่ตอบว่ามีหนี้ เผชิญปัญหาการชำระหนี้ ซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้ตอบ 16% บอกว่าเป็นปัญหาที่หนัก และ 40%บอกว่าเป็นปัญหาอยู่บ้าง 


และจากการสำรวจ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ ส่วนใหญ่เผชิญปัญหาภาระหนี้ หากแบ่งตามสาขาธุรกิจที่ทำงาน พบว่า คนที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวมากถึงราว 70% เผชิญปัญหาภาระหนี้ 


จากปัญหาทั้งด้านรายได้ และภาระหนี้ ยังส่งผลกระทบทำให้คนส่วนใหญ่เก็บออมได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย ในช่วงโควิด ซ้ำเติมปัญหาสภาพคล่องที่ส่วนใหญ่มีอยู่เพียงพอใช้จ่ายไม่เกิน 6 เดือน


และจากวิกฤตโควิด ส่งผลให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยผู้บริโภค 61% ใช้จ่ายลดลงในช่วงโควิด อีกทั้งผู้บริโภค 43% ยังระมัดระวังการใช้จ่ายแม้สถานการณ์จะคลี่คลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย 

 


ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ส่งผลให้เทคโนโลยีกลายเป็นช่องทางสำคัญในการดำเนินชีวิต เกือบครึ่งของผู้บริโภคใช้ช้องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบกว่า 88% ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ และมีถึง 41%ที่ซื้อเพิ่มในช่วงโควิด และผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 86% มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ต่อไปหลังสถานการณืคลี่คลาย 


จากผลสำรวจผู้บริโภคของ EIC พบข้อสรุปที่มีนัยเชิงธุรกิจด้วยกัน 5 ประเด็น ดังนี้


1.ในภาพรวม กำลังซื้อผู้บริโภคจะฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ โดยผู้โภคส่วนใหญ่มองว่า รายได้ของตนเองจะยังคงไม่เพิ่มขึ้นในระยะ 6 เดือนข้างหน้า และยังเผชิญทั้งปัญหาภาระหนี้และสภาพคล่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภครายได้น้อย (รายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน) ที่มีปัญหาหนักที่กว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูงกว่า


2. แนวโน้มรายได้ที่ซบเซา ประกอบกับปัญหาภาระหนี้ ส่งผลให้การใช้จ่ายภาพรวมฟื้นช้า โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าคงทน ผู้บริโภคส่วนใหระบุว่าไม่มีแผนจะเพิ่มการใช้จ่ายในระย 6 เดือนข้างหน้า โดยมีผู้บริโภคเพียงส่วนน้อยเพียงประมาณ 5% ที่มีแผนจะซื้อบ้านหรือรถในช่วงดังกล่าว 


3. อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น อุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) อาจเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแผนจะใช้จ่ายไปกับกิจกรรม การท่องเที่ยวในประเทศ และธุรกิจสุขภาพ-ความงาม-ความบันเทิง เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง-สูง ส่งผลให้การเริ่มทยอยคลายล็อกดาวนในช่วงไตรมาส 4 ที่เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่าง "เราเที่ยวด้วยกัน" "คนละครึ่ง" "ยิ่งใช้ยิ่งได้" จะเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญของ pent-up demand


4.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม New Normal ของการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้นของผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่จะไปต่อได้ สินค้าและบริการที่ที่เกี่ยวกับการใช้เวลาที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการทำกิจกรรมงานอดิเรก เช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ รวมถึงการปรับปรุง-ตกแต่งอยู่อาศัย กำลังได้รับแรงสนับสนุนจากเทรนด์การทำงานที่บ้าน (workfrom home) ที่หลายองค์กรในไทยนำมาปรับใช้มากขึ้น จึงทำให้สัดส่วนการใช้เวลาที่บ้านเพิ่มขึ้นจากก่อนโควิดอย่างถาวร

 
5. พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด แต่ความต่อเนื่องเป็น New Normal ในระยะต่อไปมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทสินค้า โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ มูลค่าของสินค้า ลักษณะของสินค้า ทางเลือกของการบริโภค รวมไปถึงความชอบของผู้บริโภค


โดยผลสำรวจสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้


ประเด็นที่หนึ่ง : วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไทยจำนวนมาก นำไปสู่ 3 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่าย ปัญหาภาระการชำระหนี้ และปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยปัญหาจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย


ประเด็นที่สอง : ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาเท่ากับที่เคยได้ในช่วงก่อน COVID-19 ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แต่ยังค่อนข้างมีความระมัดระวังกับแผนการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสำหรับบริการในประเทศบางประเภทมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากแรงส่งของอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง


ประเด็นที่สาม : ในช่วง COVID-19 ผู้บริโภคไทยมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี และการใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรม 2 กลุ่มนี้มีแนวโน้มกลายเป็น New Normal


ที่มา : SCB Economic Intelligence Center

-------------------------
ติดตามข่าวสาร ความรู้ทางการเงิน-การลงทุนได้ที่
Facebook : Clubhoon
Website : www.Clubhoon.com
Twitter : www.twitter.com/Clubhoon1

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com