"ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์” เลขาธิการ กบข. พร้อมขับเคลื่อนกองทุนให้มั่นคง หวังสร้างผลตอบแทนที่ดีให้สมาชิก เพื่อให้สมาชิกมี“Freedom for Living” เกษียณมีสุขไร้ความกังวล ภารกิจแรกทบทวนความเพียงพอของเงินเกษียณ และศึกษาทางเลือกรับผลตอบแทน วางรากฐานการบริหารกองทุนให้มั่นคง
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้กำหนดแผนงานวางรากฐานการบริหารกองทุน ในการขับเคลื่อนกบข. ให้เป็นกองทุนที่มีความมั่นคง สรางผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะยาว มากกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 ปี บวก 2% ต่อปี และเพิ่มระดับความไววางใจของสมาชิกที่มีตอ กบข. เพื่อให้สมาชิกมุ่งสู่การมี “Freedom for Living เกษียณมีสุข”
โดยภารกิจแรกที่จะดำเนินงาน คือ การทบทวนความเพียงพอของเงิน ณ วันเกษียณ โดยเพิ่มตัวแปรหนี้สิน การมีอายุยืนยาวของคนไทย และระดับความเพียงพอของสมาชิกแต่ละกลุ่มอาชีพเข้ามาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ระดับความเพียงพอมีค่าเป็นปัจจุบันมากที่สุด และนำผลศึกษามาปรับปรุงแผนการจัดสรรการลงทุนของ กบข.
ภารกิจที่สอง คือ การศึกษาเพิ่มทางเลือกในการรับผลตอบแทนรูปแบบอื่นใหกับสมาชิกโดยทางเลือกในการรับผลตอบแทนรูปแบบอื่นออกแบบสำหรับส่วนเพิ่มเงินออมที่สมาชิกเพิ่มเติมจากภาคบังคับ เนื่องจากความต้องการของสมาชิกในการออมเพิ่มนั้นอาจมีลักษณะผลตอบแทน อาทิ ต้องการรับเงินปันผลระหว่างทาง ต้องการทางเลือกในการออมเพิ่มเติม และอาจรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น สิทธิ์ในการใช้บริการ Retirement Home & Care เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ และอาจต้องมีการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ นอกจากนี้ เนื่องด้วยการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรสูงวัย (Aging Society) จะมีส่วนในการปรับปรุงการลงทุนในอนาคตด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานปี 2566 กบข. สามารถสร้างผลตอบแทนได้ 1.46% (หลังหักค่าใช้จ่าย) โดยได้รับผลดีจากการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในตราสารหลากหลายประเภท และการจัดการติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด
ส่วนปี 2567 นี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้นได้ทันการณ์ ทั้งสงครามตะวันออกกลาง ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน และความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ผลการเลือกตั้งและแนวนโยบายในหลายประเทศ โดยเฉพาะประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ และแนวนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยที่คงอยู่ในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา จะลดทอนความสามารถในการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง เงินเฟ้อปรับตัวลดลงแบบชะลอตัวและยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาวของธนาคารกลาง ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังต้องติดตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้มีความเชื่อมั่นในการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และการกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง โดยปีนี้มีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปี 2566 ที่ผ่านมา