Economies

ผู้ว่า ธปท. แม้เฟดลดดอกเบี้ยแรง  ไทยไม่ต้องลด ดบ.ตาม ชี้เงินบาทแข็งเร็ว-ผันผวนสูง พร้อมติดตามใกล้ชิด
20 ก.ย. 2567

 ผู้ว่า ธปท. ชี้เฟดลดดอกเบี้ย 0.5% แรงมาก ยอมรับกระทบค่าเงินบาทแข็ง พร้อมติดตามใกล้ชิด ส่วนดอกเบี้ยไทยยังไม่จำเป็นต้องลดตาม เพราะเน้นดู 3 ตัวแปรในประเทศเป็นหลัก “ศก. เติบโต- เงินเฟ้อ-เสถียรภาพการเงิน” ชี้ 2 ตัวแปรยังดี แต่เสถียรภาพการเงินตึงตัว 

 

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวให้ความเห็นต่อกรณีผลประชุธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% เหลือ 4.75%- 5.00% ว่า การลดดอกเบี้ย 0.50% ถือว่าไม่น้อย แต่ข่าวนี้ตลาดการเงินได้รับรู้และเกิดผลไปแล้วตามคาดการณ์ โดยค่าเงินดแลลาร์ที่อ่อนค่า ได้ส่งผลต่อค่าเงินโดยรวมในภูมิภาครวมถึงเงินบาทที่แข็งขึ้น และกระทบต่อตลาดเงิน ผ่านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield)  แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ได้มีมากมาย เพราะเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่พึ่งพาระบบธนาคาร  

 

“(เฟดลดดอกเบี้ยแรง)  มีผลต่อค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมา และไปซ้ำเติม ที่กระทบมาก คือ ทองคำ ทำ all time high เมื่อสกุลดแลลาร์อ่อนค่า  เงินบาทเคลื่อนไหวกระทบกับทองคำสูง ราคาเพิ่มขึ้น ผลทางเศรษฐกิจ เฟด ลดดอกเบี้ยสะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐ sofelanding  อาจทำให้สบายใจขึ้นมา สหรัฐก็ดูโอเค โอกาสเกิด hardlanding น้อย ส่วนผลกระทบต่อนโยบายการเงินไทย  เนื่องจากเน้นดูปัจจัยในประเทศ คือ แนวโน้มเศรษฐกิจ เข้าสู่ศักยภาพมั้ย เงินเฟ้อเข้าเป้ามั้ย และเสถียรภาพระบบการเงิน แต่เราก็ต้องธนาคารกลางอื่นๆ และผลกระทบต่อภาพรวม โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยนี้  ส่วนนัยต่อการตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายของไทย ตอนนี้เรายังไม่ได้เห็นภาพที่ประเมินจะแตกต่างจากที่มองทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และเสถียรภาพการเงิน  เราเห็นเรื่อง           เครดิตสกอริ่ง ที่สูงขึ้น ที่กระทบต่อสินเชื่อที่ชะลอตัวลง ด้านเศรษฐกิจ คล้ายกับของเดิม ”

 

อย่างไรก็ตาม แม้เฟดลดดอกเบี้ย  แล้วไทยจะต้องลดตามนั้น ผู้ว่า ธปท. กล่าวว่าเนื่องจากไทยไม่ใช่ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อย่างประเทศฮ่องกงที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่  เมื่อเฟดลดดอกเบี้ย ฮ่องกงก็ต้องลดตาม ซึ่งของไทยเน้นดู 3 ปัจจัยสำคัญในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหากดูปัจจุบันเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ระดับศักยภาพ พิจารณาจากข้อมูลที่มองไประยะข้างหน้ามากกว่าข้อมูลปัจจุบันที่จะไม่ทันการณ์  อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะกลับเข้ากรอบเป้าหมาย แม้ว่าจะช้ากว่าคาดการณ์ ขณะนี้ยังมองแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไม่ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม และเป็นไปตามอย่างที่คาดการณ์ไว้อย่างไรก็ดี  แต่สิ่งที่ยังกังวล คือ เรื่องเสถียรภาพระบบการเงิน  ที่ความเสี่ยงทางด้านเครดิต ที่สูงขึ้น ทำให้การปล่อยสินเชื่อเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ ธปท.ติดตามใกล้ชิด”

 

สำหรับค่าเงินบาทแข็งขึ้นและผันผวนเร็วกว่าสกุลอื่นในภูมิภาคนี้นั้น ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า เงินบาทมีความผันผวนมากกว่าบางประเภท แต่ก็ไม่ได้มากสุดในภูมิภาค โดยนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เงินบาทแข็งค่า 3.1%  เดิมเงินบาทแข็งค่าใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบัน เงินบาทแข็งค่าใกล้เคียงกับสกุลเงินของเกาหลี 

 

สำหรับผลกระทบเงินบาทต่อภาคส่งออก  หากดูในเชิงปริมาณการส่งออกไม่ได้ปรับลดลง  ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อภาคส่งออก ขึ้นอยู่กับการค้าโลก ซึ่งเป็นด้านดีมานด์(ความต้องการสินค้าของตลาดโลก) ส่วนค่าเงินจะกระทบในแง่มูลค่าเมื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท

 

“เราไม่อยากเห็นค่าเงินบาทผันผวนเร็วและเยอะ แต่ช่วงหลังที่ผันผวนเพิ่มขึ้น สิ่งที่ทำคือ ดูที่มาของการแข็งค่ามาจากปัจจัยอะไร ซึ่งมาจากดอลลาร์อ่อนค่า จากการที่เฟดลดดอกเบี้ย เป็นไปตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่เราไม่อยากเห็นคือ การแข็งค่าที่ไม่สะท้อนปัจจัยเชิงพื้นฐาน  ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่เห็นเงินร้อน ( Hot Money ) เข้ามาไทย ด้านฟันด์โฟลว์ นับตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน ไหลออกราว 2.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นและการเมืองที่ดีขึ้น ขณะที่ปี 2566 ฟันด์โฟลทไหลออก 9.9 พันล้านดอลลาร์“ ดร. เศรษฐพุฒิ กล่าว

 

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับลดดอกเบี้ยจะต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักว่า ลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากแค่ไหน และจะกระตุ้นหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นแค่ไหน โดยปัจจุบันภาคครัวเรือนมีปัญหาหนี้ไม่น้อย ซึ่งดอกเบี้ยของหนี้ มีทั้งอัตราดอกเบี้ยลอยตัว และดอกเบี้ยคงที่ ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่า จะลดดอกเบี้ยทันที ช่วยให้ภาระหนี้จะลดลงทันทีด้วย ขณะที่ เศรษฐกิจฟื้นตัวทรง K-shape ซึ่ง  K ขาล่างฐานกว้างขึ้น ซึ่งดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีในการดำเนินนโยบาย Policy Mixed ทำให้มาตรการลดภาระหนี้ของคน เช่น กลุ่มเปราะบาง เมื่อลดดอกเบี้ย จะไม่ได้ผลมากเท่าการช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน และหลังเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)แล้ว เพราะฉะนั้น  การลดดอกเบี้ยจะเชื่อมโยงกับหนี้อย่างไร จึงเป็นสิ่งที่ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะจะมีผล 2 ส่วนคือ ลดดอกเบี้ยมีผลต่อหนี้เก่าอย่างไร และหากลดดอกเบี้ย สินเชื่อใหม่จะทำให้เพิ่มขึ้นเร็ว  ซึ่ง ธปท. ไม่อยากเห็นหนี้ครัวเรือนโตพุ่ง แต่ ธปท. ก็ไม่อยากให้เหยียบเบรก

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com