Economies

รมว.คลัง เผยผลถก ธปท. จี้แก้โจทย์หิน งัดมาตรการหนุนภาคลงทุน ดัน GDP โต-ปั๊มเงินเฟ้อสูง 2% 
29 ต.ค. 2567

รมว. คลัง เผยผลหารือกับผู้ว่าแบงก์ชาติ ให้โจทย์หินออกมาตรการหนุนการลงทุน  หวัง 'ปั้นเงินเฟ้อขึ้น 2%’ ชี้เป็นระดับเหมาะสม  เผยไม่เกี่ยงกำหนดกรอบเงินเฟ้อปี 68 ขอแค่ทำผลงานหนุนรัฐปั๊มเศรษฐกิจโตต่อไป  ลั่นต่อไปต้องกำหนดนโยบาย ‘เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย-ค่าเงิน’ เป็นแพคเกจเอื้อต่อการลงทุนและสินเชื่อ คาดได้ข้อสรุปเสนอ ครม. เดือนธ.ค. นี้

 

นทยพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รมว.คลัง )  เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า เรื่องที่ได้หารือร่วมกันในวันนี้ (29 ต.ค.) เป็นการหาข้อตกลงการดำเนินนโยบายทางการเฝินควรเป็นอย่าางไร และร่วมกันกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของปีหน้า 2568  สิ่งที่ต้องการ คือ ให้ ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินที่สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล  เนื่องจากที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโตไม่สูง ก่อนที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา เศรษฐกิจไทย ( GDP)โต 1.9-2% ส่วนปีนนี้คาดโต 2.7% และปีต่อไป หากยังดำเนินนโยบายไปตามปกติ แนวโน้มเศรษฐกิจโต 3% ได้ แต่เฃินเฟ้อจะอยู่ต่ำ 1% ซึ่งเป็นขอบล่างของกริบเป้าหมายเงินเฟ้อ 1-3%  สิ่งหารือกันในวันนี้ เชื่อว่า ธปท. เข้าใจเจตนาและนโยบายของของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่ง ธปท. ก็เข้าใจเจตนาของรัฐบาล และทาง ธปท. ก็มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ด้วยการออกนโยบายทางการเงินมาเพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

 

ส่วนการกำหนดกรอบเงินเฟ้อปี 2568 จริงๆเป็นเรื่องของปลายเหตุ  เพราะปัญหาเงินเฟ้อต่ำมาจากประเทศไทย คือ การลงทุนอยู่ระดับมานาน และคนมีรายได้น้อย ซึ่งหากจะกำหนดกรอบเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.5%~3.5%  ก็คิดว่าไม่มีผล ถ้าหากตัวเลขแท้จริงออกมาต่ำกว่า 1% ไม่ว่ากำหนดกรอบเงินเฟ้อเท่าไหร่ ก็มีค่าเท่ากัน หรือถ้า ธปท. ต้องการจะกำหนดกรอบเงินเฟ้อที่ 1-3%  ตนก็รับได้  แต่ ธปท.  จะต้องมีมาตรการอื่นออกมาสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อยอมให้เงินเฟ้อขึ้นไปจุดที่เหมาะสมเป็น 2% หรือใกล้เคียงค่ากลางมากกว่า 

 

“ถ้าเงินเฟ้อยังออกมาต่ำกว่า 1%  ธปท. ช่วยทำมาตรการอื่นเพื่อช่วยให้เงินเฟ้อขึ้นไปที่ 2%ได้ไหม จะตัดสินใจอย่างไรไม่ว่า เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องการภาคการลงทุน  ซึ่งรัฐบาลก็ผลักดันอยู่แล้ว ปัจจัยทร่ทำให้มีการลงทุนเกิดขึ้น คือ ดอกเบี้ย จะมีมาตรการสนับสนุนการลงทุน ต้องมาดูเรื่องดอกเบี้ย จะขึ้นหรือลง  เราคงไม่บอกว่าจะขึ้นจะลงอย่างไร ถ้าอยากสนับสนุนเศรษฐกิจ ก็เทียบกับต่างประเทศ ดูว่าควรจะลงหรือขึ้น อย่าไปถามผู้ว่าฯ เลยว่างวดหน้าจะขึ้นหรือลง การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ตกผลึก ไม่ว่าจะหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้สินเขื่ออุปโภคบริโภค ถ้าหากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ แปลว่า โอกาสที่จะลงทุนเพิ่มก็เกิดขึ้นได้เพราะคนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนจะพึ่งพาตลาดต่างประเทศสัดส่วนถึง 70% ดังนั้น ต่อไปนี้ จะดูเรื่องเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ให้เป็นแพคเกจ เพื่อจะได้สนับสนุนการลงทุนและเกิดการปล่อยสินเชื่อได้" นายพิชัย กล่าว

 

รองนายกฯ พิชัย กล่าวย้ำว่า สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินต้องเดินไปด้วยกันกับรัฐบาล เพราะอยากเห็นประเทศไทยมีเศรษฐกิจเติบโต ซึ่งถือเป็นตัววัดผลงาน KPI  ของทั้งสองฝ่าย ทั้ฃนี้คาดว่า การหารือครั้งต่อไปจะได้ข้อสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ได้ ภายในเดือนธันวาคมนี้

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com