BAM แจงแผนตั้ง JV AMC คืบหน้าชูถือหุ้นคนละ 50% เบื้องต้นเงินลงทุน 500-1,000 ล้านบาท ลั่นมีกระแสเงินสดลงทุนเพียงพอ คาดชงบอร์ดเคาะ ภายในต้น พ.ค.นี้ พร้อมเปิดเผยข้อมูลอก่ตลาดหลักทรัพย์ ส่วนแผนซื้อหนี้บริหาร ต้นปีนี้โกยมาแล้ว 4-5 พันลบ. จากเป้าหมายปีนี้ 1 หมื่น ลบ. และกลางปีเปิดตัวแอปฯ เพิ่มช่องทางออนไลน์บริการลูกค้าครบเครื่อง
นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ หรือ บสก. (หุ้น BAM) กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจาการร่วมทุนบริษัทบริหารสินทรัพย์ (JV AMC )ว่า ขณะนี้ BAM ยังอยู่ในข่วงการเจรจากับพันธมิตรหลายราย ซึ่งมีทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และสถาบันการเงินเอกชน ซึ่งจะมีทั้งเจรจาดูความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างธุรกิจ ( Business Model ) แนวนโยบายการทำงานร่วมกัน ทีมผู้บริหารส่วนเงินลงทุนเบื้องต้น ซึ่ง BAM คาดไว้ที่ 500-1,000 ล้านบาท โดยถือหุ้นฝ่ายละ50% ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะสรุปและเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาได้ภายในปลายเดือนเม.ย. นี้หรือต้นเดือน พ.ค. 2567 หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (ไลเซ่น) ซึ่งคาดว่า จะดำเนินการจัดตั้ง JV AMC นี้ ได้ภายในไตรมาส 3 นี้
"แหล่งเงินทุนที่จะใช้ร่วมทุน ก็จะมาจาก กระแสเงินสดของบริษัท ซึ่งมีมากเพียงพอ และถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างน้อย จึงไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน หากมีความชัดเจนจะแจ้งข้อมูลเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์" นายบัณฑิต กล่าว
นายณสุ จันทร์สม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAM กล่าวว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) หรือ JV AMC ขณะนี้ BAM กำลังพิจารณาอยู่หลายโครงการ ซึจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่ดีที่สุด จะต้องพิจารณาถึงผู้ถือหุ้น ลูกค้า และโอกาสการลงทุนที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และผ่านขั้นตอนพิจารณาจากคณะกรรมการ BAM
สำหรับแผนการซื้อหนี้เข้ามาบริหารทั้งประเภท NPL และ NPA ในปีนี้ นายบัณฑิตกล่าวว่า ยังคงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9 ,000 - 10,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าสถาบันการเงินจะทะยอยนำหนี้และสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันออกมาต่อเนื่อง แต่ปีนี้ BAM โฟกัสซื้อหนี้กลุ่มลูกค้ารายใหญ่และรายกลาง เน้นลูกค้าองค์กร (Corporate) ที่มีหลักประกันเช่น โรงงาน ที่ดิน และโกดสินค้า เพราะสามารถนำมาขายทอดตลาดให้ลูกค้าผู้ประกอบการได้ ซึ่งจะช่วยให้ BAM กระจายพอร์ตทรัพย์กลุ่มผู้ประกอบการสัดส่วนเพิ่มขึ้น
ท้้งนี้ ล่าสุดมีตัวเลขซื้อทรัพย์ของ BAM ณ 15 มี.ค. 67 บริษัท มีสินทรัพย์ประเภท NPL ที่มีภาระหนี้รวม 4,837.55 ล้านบาท ในปีนี้มีเป้าหมายขยายฐานสินทรัพย์เพิ่มอีก70,000 ล้านบาท และคาดจะเรียกเก็บให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 20,000 ล้านบาท
"ปีนี้ มีของออกมาขายเยอะ ส่วนผู้ซื้อก็มีจำกัด เพราะฉะนั้นเราจะต้องซื้อด้วยความระมัดระวัง ดังนั้น จึงต้องใช้ IT เข้ามาช่วยดำเนินงาน ทั้งช่วยสร้างโอกาส และความเสี่ยงรวมถึง การประเมินราคาทรัพย์ที่จะซื้อด้วย ซึ่งถ้ามีของขายเยอะ ราคาก็ต้องต่ำลงมา"นายบัณฑิตกล่าว
นายวรฐนนท์ ฟูเกียรติ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และ นักลงทุนสัมพันธ์ บสก. กล่าวว่าในปีนี้ BAM เตรียมเงินสำหรับซื้อหนี้เข้ามา ประมาณ 9,000-10,000 ล้านบาท โดยช่วงต้นปีนี้ ได้ซื้อหนี้เข้ามาแล้ว 4,000-5,000 ล้านบาท
ส่วนแผนการออกหุ้นกู้ในปีนี้นั้น ประมาณช่วงปลายเดือนมีนาคม นี้ บริษัทจะออกหุ้นกู้วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการซื้อทรัพย์เข้ามาและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
นายธนกร หวังพิพัฒน์วงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAM กล่าวว่า ภายในกลางปีนี้ BAM จะเปิดให้บรืการ BAM Mobile Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกหนี้และลูกค้าทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ซึ่งจะเพิ่มข่องการทำธุรกรรมออนไลน์ได้สะดวกและรวดเร็ว และยังเป็นช่องทางการติดต่อ ข่าวสาร คูปอง โปรโมชั่น รวมถึงดูภาระหนี้และชำระหนี้ออนไลน์ สำหรับ NPL การแจ้งเตือนอัตโนมัติ การทำแผนประนอมหนี้ออนไลน์ และกลุ่ม NPA จะมีฟังก์ชั่นแสดงทรัพย์และจองซื้อทรัพย์ คำนวณสินเชื่อ นัดหมายเข้าดูทรัพย์ ดูยอดคงเหลือและการผ่อนชำระออนไลน์ ดูใบเสร็จการจ่ายเงิน ด้วย