ทิศทางหุ้นไทย ฟื้นตัวในกรอบจำกัด มี sentiment บวก จากตลาดหุ้นสหรัฐ ขณะที่คลายความกังวลเงินเฟ้อ แต่ไร้ปัจจัยหนุนจากในประเทศ ตลาดหลักทรัพย์เตรียมนำAI มาใช้จับปั่นหุ้น ยังคงแนะกลยุทธลงทุนตามธีมที่มีข่าวบวกหนุน
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ (22 ม.ค.) บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ คาดแม้ SET ได้ sentiment บวก จากตลาดหุ้นสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ขาดปัจจัยหนุนทำให้มองการฟื้นตัวจำกัด โดยมีกรอบบนบริเวณแนวต้าน 1390 และ 1402 จุด ตามลำดับ ซึ่งใช้เป็นจุดติดตาม หากขึ้นทะลุผ่านได้ จะเป็นสัญญาณบวก ด้านกรอบล่างอยู่ที่แนวรับ 1375 จุด หากต่ำกว่า จะเป็นสัญญาณลบ โดยมีแนวรับถัดไปที่ 1370 จุด
ประเด็นสำคัญ
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ม.ค. 67 โดย ม. มิชิแกน สูงกว่าคาด และสูงสุดนับตั้งแต่ ก.ค. 64 หลังผู้บริโภคเพิ่มความเชื่อมั่นภาวะ ศก. ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตขณะที่คลายกังวลเงินเฟ้อ ขณะที่ยอดขายบ้านมือสอง ธ.ค. ลดลง 1%MoM และ6.2%YoY สู่ระดับ 3.78 ล้านยูนิต ต่ำกว่าตลาดคาด โดยได้รับผลกระทบจากสต็อกบ้านในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ราคาบ้านพุ่งขึ้น
• จีนฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกในการซื้อน้ำมันลดราคาจำนวนมหาศาลจากรัสเซีย ทำให้รัสเซียแซงหน้าซาอุดีอาระเบียจนกลายเป็น supplier น้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของจีนในปี 2566
• ทางการจีนจะดำเนินมาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทรถยนต์และทางการท้องถิ่นพัฒนาโครงการรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ๆ ออกมาล้นตลาดมากจนเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาแย่งส่วนแบ่งการตลาดในยุโรปมากขึ้นอาจก่อปัญหาการค้ารอบใหม่
• ความไม่สงบในทะเลแดงเริ่มส่งผลกระทบกับการขนส่งสินค้าเกษตร (ผลไม้ กาแฟ) และอาจนำไปสู่ความเสี่ยงการปรับลดลงของเงินเฟ้อด้านอาหารที่ช้าลง
• นายรอน เดอซานติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา ประกาศถอนตัวจากการเป็นต้วแทนพรรครีพับลิกันลงสู้ศึกเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐและระบุจะหันไปสนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์ แทน
• ตลท. กำหนดยุทธศาสตร์ 3 ปี ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน เตรียมนำระบบ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขาย พร้อมจับผิดข่าวปลอมหลอกลงทุน
กลยุทธลงทุน ช่วงสั้นตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดตลาดจะมีการปรับลดความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ เงินเฟ้อ ตลาดแรงงานและการผลิตไม่ได้แย่อย่างที่กังวล ซึ่งทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสพักฐานในช่วงสั้น ขณะที่ในประเทศเองยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ กลยุทธ์ลงทุนจึงเน้น “ตั้งรับ สะสมหุ้นพื้นฐานรอการฟื้นตัวของตลาด”
Weekly Portfolio : ช่วงสั้นมอง SET ยังเปราะบางและมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ขณะที่ในประเทศมองยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นบรรยากาศการใหม่ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงเน้น “ตั้งรับ สะสมหุ้นพื้นฐานรอการฟื้นตัวของตลาด” ใน 2 ธีมหลัก ดังนี้
1) นักลงทุนระยะกลางที่ต้องการลงทุนในหุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี เลือก AP BCP และKTB โดยใช้หลักเกณฑ์ คือ มีสถิติจ่ายปันผลต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป, มี SET ESG Rating ระดับ AAA/AA, คาดให้ Div. Yield ที่เหลือหลังหักเงินปันผลที่จ่ายระหว่างกาลไปในระหว่างปี 66 สูงเกิน 5% และปี 2567 ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโต YoY
2) นักลงทุนระยะยาวแนะนำลงทุนสะสมแบบ DCA เนื่องจากมองเป็นจังหวะที่ดีที่สุดหลัง SET ปรับลงแรงจนความเสี่ยงลดลงไปมาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ Undervalue มาก โดยเลือก BBL BDMS BEM CPALL PTT และ SCC ซึ่งเป็นหุ้น SET100 ซึ่งเป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม และมี ESG Rating ระดับ AAA/AA, Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และผลการดำเนินงานยังแข็งแกร่ง
ระยะกลางแนะนำระมัดระวังหุ้นที่คาดได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญที่จะกระทบต่อกำลังซื้อภาคเกษตรลดลง ได้แก่ กลุ่มสินเชื่อ (MTC SAWAD) กลุ่มยานยนต์ (SAT STANLY) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG จากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น) รวมถึงกลุ่มเกษตรและอาหาร(CPF GFPT BTG)
Top Picks
CPALL 4Q66 คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 54%YoY และ 9%QoQ เติบโตดีสุดในกลุ่มพาณิชย์จากยอดขายที่ดีขึ้นและดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงหลังรีไฟแนนซ์หนี้ของ CPAXT เสร็จสิ้นเมื่อ เม.ย. 66 คาดกำไรปี 66 โต 36%YoY และโตต่อ 17%YoY ในปี 67 มองราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่สะท้อนแนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่ง
GULF 4Q66 คาดกำไรโตต่อจากโรงไฟฟ้า IPP (GPD) อีก 1 หน่วยเริ่มดำเนินการในเดือน ต.ค. 66 รวมทั้งกำไรจาก Jackson Generation เพิ่มขึ้น คาดปี 2566 กำไรปกติโต 32%YoY และ 28%YoY ในปี 2567 อีกทั้งราคาหุ้นยัง Laggard โดยมี PER และ PBV ปี 2567 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี